การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของบุคลากรบริษัทหลักทรัพย์ ตามหลักพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • พิธาน โตตระกูลพิทักษ์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูง, บุคลากรบริษัทหลักทรัพย์, หลักไตรสิกขา.

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งนำเสนอและวิเคราะห์การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงของบุคลากรบริษัทหลักทรัพย์ผ่านการนำหลักพุทธธรรมมายกระดับศักยภาพของบุคลากรในการทำหน้าที่เป็นตัวกลางการลงทุนของลุกค้าเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และมั่งคงที่มีความเสี่ยงต่ำให้มากที่สุด ซึ่งบทบาทหน้าที่หลักของบุคลากรต้องมีคุณสมบัติหลัก ๆ เช่น ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชี้แจงให้ลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้เข้าใจในความเสี่ยงของการลงทุน อีกทั้งให้คำแนะนำตามนโยบายบริษัทอย่างชัดเจนโปร่งใส่ไม่ปิดบังข้อมูลต่าง ๆ เพราะฉะนั้น การปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพสูงของบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่อยู่ในกระแสความถูกต้อง ชัดเจน เป็นธรรมแก่ลูกค้าอย่างเท่าเทียมมากที่สุดที่ต้องอาศัยหลักไตรสิกขาเข้ามาประยุกต์ใช้ประกอบด้วย 1. ระดับของศีล คือ การปฏิบัติงานของบุคลากรต้องมี แบบแผนการรักษาวินัยทางการเงินจริยธรรม กติกา นโยบายการดูแลกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทหลักทรัพย์ที่กำหนดในเบื้องต้นเพื่อความโปร่งใส่ เป็นธรรม 2. ระดับสมาธิ คือ การยกระดับศักยภาพการทำงานของบุคลากผ่านความร่วมมือระหว่างกิจการ ความมั่นคงของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์และสร้างลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้เกิดความมั่นใจ ไว้ใจต่อการลงทุนตลาดหลักทรัพย์ตลอดจนสามารถสร้างความมั่นคงทางการเงิน ความยั่งยืนของกิจการทั้งสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และ 3. ระดับปัญญา คือ การพัฒนาความใฝ่รู้ ความเท่าทันข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนและสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดให้เกิดการปรับเปลี่ยนพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสม

References

ชมรมวาณิชธนกิจ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย. (2559). แนวทางการปฏิบัติงานภายใต้กรอบจรรยาบรรณของที่ปรึกษาทางการเงิน. กรุงเทพฯ: ชมรมวาณิชธนกิจ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย.

ณัชพล งามธรรมชาติ. (2559). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายการผลิตบริษัท XYZ จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). กฎบัตรของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พีรญา ชื่นวงศ์. (2560). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา ธุรกิจการขนส่งในจังหวัดเชียงราย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 4(2), 92-100.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมยศ นาวีการ. (2549). การบริหารและพฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ.

อัครวัฒน์ นิธิจิรวงศ์. (2559). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจตามแผนปฏิบัติงานฝ่ายเทศกิจ กรุงเทพมหานคร (การศึกษาอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ). คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-02

How to Cite