การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากยุคการบริหารงานบุคคลสู่ยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พลัฏฐ์ อารีวงศ์ศิลป์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ยุคการบริหารงานบุคคล, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากยุคการบริหารงานบุคคลสู่ยุคดิจิทัล โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากยุคการบริหารงานบุคคล เป็นวิธีการที่จะนำไปใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย การฝึกสอน การสร้างสถานการณ์จำลอง การอภิปราย ตัวแบบพฤติกรรม การวิเคราะห์งานจากตัวอย่าง การฝึกงาน การแสดงบทบาท การเปลี่ยนตำแหน่งงาน บทเรียนผ่านโปรแกรม การบรรยาย การฝึกงานแบบลูกมือ การจำลองจากสถานการณ์จริง เป็นต้น ส่วนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากยุคดิจิทัลเป็นการปรับตัวให้ก้าวทันโลกอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถรับมือกับการทำงานในโลกยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 1. การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาใช้ เพื่อช่วยให้การทำงานราบรื่น และรวดเร็วขึ้น 2. มีความรู้เรื่องโซเชียลมีเดีย เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับพนักงาน และระหว่างองค์กรกับผู้สมัครงาน ในการสร้างความเชื่อมั่นและสามารถตอบโต้กับทั้งพนักงานและผู้สมัครงานได้อย่างรวดเร็วและทันการณ์ 3. วิเคราะห์และตัดสินใจ แก้ไขปัญหา สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาตีความ วิเคราะห์ รวมถึงระบุแนวโน้มและทิศทางของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 4. ทักษะด้านการตลาด เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่แบรนด์ขององค์กร เพื่อดึงดูดผู้สมัคร และผู้ที่สนใจ 5. ก้าวล้ำตามเทรนด์อยู่เสมอ อาศัยเครื่องมือ และกระบวนการต่าง ๆ มาช่วยในการทำงานอย่างชาญฉลาด

References

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2554). วาทกรรมการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.

ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์. (2557). หลักบริหารพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพชรสำนักพิมพ์.

ณัฏฐิรา เจริญบุญ. (2551). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2534). ทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชนบท. เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาชุมชนหน่วยที่ 1-7 (พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2530). ทางสายกลางของการศึกษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พัชรินทร์ ดีอินทร์. (2566). HR ยุคดิจิทัล กับ 5 ทักษะที่ควรมี. สืบค้น 13 สิงหาคม 2566, จาก http://www.pmat.or.th/ความรู้ทรัพยากรบุคคล/1712/สะดุดคิด สะกิดใจ/20701/gallery1/?contentid=37885.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Pace, R.W. et.al. (1991). Human Resource Development. New York: Prentice-Hall.

Raymond, E.M. (1965). Human relations or human resources? Harvard Business Review, 43(4),148-163.

STEPS Academy. (2566). 7 ขั้นตอน แนวทางการปรับเปลี่ยนองค์กรของท่านด้วยการใช้ Digital Transformation. สืบค้น 13 สิงหาคม 2566 จาก https://stepstraining.co/strategy/how-to-implement-hr-digital.

Streeten, P. (1972). The Frontiers of Development Studies. London: Macmillan.

UNESCO. (1982). Basic Concepts and Considerations in Educational Planning and Management. Bangkok: UNESCO Regional office for education in Asia and the Pacific.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-02

How to Cite