พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
พุทธบูรณาการ, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, สำนักการระบายน้ำบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และเพื่อนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคลากรของ สำนักการระบายน้ำ คำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 368 ตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อยืนยันผลการศึกษาเชิงปริมาณจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญอีกครั้ง
ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยประกอบด้วย ด้านคุณภาพของงาน ปริมาณงาน เวลา และ ค่าใช้จ่าย 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านการปฏิบัติงานตามหลัก 7S และหลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร มีดังนี้ พุทธบูรณาการอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย 1. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในการปฏิบัติงาน 2. วิริยะ ความพากเพียรในการปฏิบัติงาน 3. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในการปฏิบัติงาน 4. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องหาเหตุผลในการปฏิบัติงาน โดยมีการบริหารงานภายในองค์กรตามหลัก 7S เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักการระบาย กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย การกำหนดกลยุทธ์ การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร การพัฒนารูปแบบการทำงาน การพัฒนาระบบบริหารจัดการ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาทักษะ และการสร้างค่านิยมร่วม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักการระบาย กรุงเทพมหานคร
References
เจริญชัย กุลวัฒนาพร. (2563). รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชลิดา ลิ้นจี่. (2563). การจัดการที่มีผลกระทบต่อกระบวนการบริหารงานที่มีคุณภาพของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3), 594-604.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).
พัทธนัญพร พิพิธวรโภคิน. (2563). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติราชการของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มะณู บุญศรีมณีชัย. (2559). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย. วารสารบทความ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7, 23(3), 12-22.
สำนักการระบายน้ำ. (2565). โครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง. สืบค้น 11 มีนาคม 2565,จาก https://drive.google.com/drive/folders/1qofS-_XGvuj yoiedCse3rTBP9O8EUXk.
สำนักการระบายน้ำ. (2565). ภารกิจหน้าที่ของหน่วยงาน. สืบค้น 11 มีนาคม 2565, จาก https://dds.bangkok.go.th/about3.php.
สุภัทรชัย สีสะใบ. (2562). การพัฒนาโมเดลประสิทธิผลพุทธวิธีการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชนการเกษตร (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Beane, J. (1991). A Curriculum Planning and Development. Boston: Allyn and Bacon.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น