การขับเคลื่อนระบบและกลไกการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดระยอง ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560

ผู้แต่ง

  • วรีรัตน์ ศรีสถิตย์วัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พงษ์สุวรรณ ศรีสุวรรณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ระบบควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ, กลไกควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ, พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบของระบบและกลไกการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของจังหวัดระยอง 2. ศึกษาการขับเคลื่อนระบบการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดระยอง และ 3. สังเคราะห์แนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนระบบการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของจังหวัดระยอง ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเลือกมาแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้แทนคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดระยอง และหน่วยงานภาคีเครือข่ายสนับสนุนการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดระยอง เครื่องมือการวิจัยคือแนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แก่นสาระ

ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของระบบการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของจังหวัดระยองประกอบด้วย สภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ โดยมีคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดระยองเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนระบบด้วยการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดโดยพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 2. การขับเคลื่อนระบบการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดระยองมีความครอบคลุมทุกหน้าที่ และ 3. แนวทางพัฒนาการขับเคลื่อนระบบการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของจังหวัดระยองด้านปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย การจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานประจำปี การเลือกใช้สื่อและช่องทางการประชาสัมพันธ์ การขอรับการสนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์และงบประมาณจากภาษียาสูบ ด้านกระบวนการประกอบด้วย การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ การกำหนดนโยบายการบำบัดรักษาผู้เสพติดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์กฎหมายและการแก้ปัญหาสุขภาพจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ การฝึกอบรมความรู้ด้านกฎหมาย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และการสุ่มตรวจและลงโทษการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

References

กรมควบคุมโรค. (2565). แผนปฏิบัติการด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สาม พ.ศ. 2565–2570. (ฉบับย่อ). นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดระยอง. (2565). รายงานการประชุมคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของจังหวัดระยอง. การประชุมคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของจังหวัดระยอง ครั้งที่ 1/2565. ระยอง: คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดระยอง.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊ค พอยท์.

พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560. (5 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 39 ก หน้า 27-47.

วรานิษฐ์ ลำไย และคณะ. (2566). การประเมินระบบและกลไกการควบคุมยาสูบตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 : คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(5), 287-304.

สิริกร นามลาบุตร และวรานิษฐ์ ลำใย. (2561). การประเมินประสิทธิผลของมาตรการระดับประเทศด้านสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ในจังหวัดหนองคาย. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(2), 133-152.

สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์, นิชนันท์ สุวรรณกูฏ และอมรรัตน์ นธะสนธิ์. (2561). ประเมินผลโครงการ 3 ล้าน 3 ปีเลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชันในเขตพื้นที่สุขภาพที่ 10. Rama Nurse Journal, 25, 102-110.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาฉบับปีการศึกษา 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อดิณัฐ อำนวยพรเลิศ. (2563). การถอดบทเรียนบทบาทของ อสม. ในโครงการเภสัชอาสาพาเลิกบุหรี่รพ.สต.เชียงบาน (รายงานวิจัย). พะเยา: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.

Lunenburg, F.C., & Ornstein, A.O. (2008). Educational administration: concepts and practices (5th ed.). Belmont, CA: Wadsworth/Cengage.

Robbins, S.P. (1990). Organization theory: structure, designs, and applications (3rd ed.). NJ: Prentice Hall, Englewood Cliffs.

Q Program. (2562). Q Program OPE: Organizational Process Excellence. Retrieved October 11, 2021, https://www.ocpb.go.th/ewtadmin/ewt/knowledge/download/article/article_20190409102754.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite