พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน

ผู้แต่ง

  • จิรัตติกาล สุขสิงห์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธบูรณาการ, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบุคลากร, กรมชลประทาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน 3. เพื่อนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมชลประทาน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 255 คน และผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มชั้นภูมิ (Stratified random sampling) โดยแบ่งชั้นของการสุ่มตามหน่วยงานในสังกัดสำนักงานชลประทานที่ 11 จำนวน 13 หน่วยงาน แล้วทำการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple sampling) ตามสัดส่วนของประชากร ในแต่ละกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 60 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นในภาพรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.980 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง จำนวน 18 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน พบว่า การพัฒนาบุคลากรตามยุทธศาสตร์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน ได้ร้อยละ 67.0 3. พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรตามยุทธศาสตร์ ทั้ง 4 ด้าน ผสานหลักธรรมอิทธิบาท 4 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านคุณภาพของงาน ด้านปริมาณงาน ด้านเวลา และ ด้านค่าใช้จ่าย ดังนั้นแล้วสามารถส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรได้ดีมากยิ่งขึ้น

References

กรมชลประทาน. (2561). ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี พ.ศ.2561-2580. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (อัดสำเนา).

ปกรณ์ มหากันธา. (2557). รูปแบบและกระบวนการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการ (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ผอบทอง สุจินพรัหม. (2559). การนำหลักธรรมอิทธิบาท 4 มาใช้ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามทรรศนะของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28. วารสารมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 5(2), 102-111.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 46). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.

พัทธนัญพร พิพิธวรโภคิน. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติราชการ ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตรปริทรรศน์, 9(4), 137-150.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-02

How to Cite