การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการการฝึกอบรมเยาวชนของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
การบูรณาการ, หลักพุทธธรรม, การบริหารจัดการการฝึกอบรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการจัดการอบรมเยาวชน 2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดอบรมเยาวชน 3. นำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการบริหารจัดการ โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลการวิจัยภาคสนามจากกลุ่มนักวิชาการพระพุทธศาสนา สถานพินิจฯ กลุ่มเยาวชนผู้แทน กลุ่มวิชาการ กลุ่มศูนย์ประชาประดีกรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกลุ่มนักวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 25 คน ผู้เข้าร่วมการสนทนาเฉพาะกลุ่ม 9 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการจัดการฝึกอบรมเยาวชนใช้กระบวนการ PDCA เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการ ใช้มาตรการอย่างเป็นระบบผ่านการวางแผนการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อพัฒนาความสามารถและประสิทธิภาพของการฝึกอบรมเยาวชนในทุกขั้นตอน 2. การนำ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ที่เน้นความมีสมาธิ ความเพียร เป็นสำคัญ การบูรณาการการจัดการกับการฝึกอบรมเยาวชนอย่างมีวิริยะอุตสาหะสามารถเติบโตและพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตอันเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนและสังคม และ 3. รูปแบบที่รวมหลักธรรมทางพุทธศาสนาเข้ากับศาลเยาวชนและการฝึกอบรมเยาวชน ควรทำงานร่วมกันในทุกขั้นตอน ฝึกอบรมเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะและความเข้าใจด้านศีลธรรมของเยาวชนทั่วทั้งจังหวัด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). กระทรวงศึกษาธิการ 109 ป. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2553). พลเมืองศึกษา (Civic Education): พัฒนาการเมืองไทยโดยสร้างประชาธิปไตยที่ “คน”. สืบค้น 11 เมษายน 2565, จาก http://social.obec.go.th/node/64
ไพรัช พานิชสกุลชัย และบุญทัน ดอกไธสง. (2562). การทำงานเป็นทีมตามแนวพุทธธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์ มจร, 5(1), 103 -114.
สมพงษ์ จิตระดับ. (2552). การบูรณาการพลังเด็กและเยาวชนกับพลังชุมชนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต้านเด็กและเยาวชน: การวิจัยพหุกรณีศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 357-377.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดสมุทรปราการ ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2565). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า และบุญทัน ดอกไธสง. (2562). องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารมนุษยศาสตร์ปริทัศน์ มจร, 5(1), 157-160.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น