แนวทางการพัฒนาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศูนย์บริการ แบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อก้าวสู่ความเป็นสากล

ผู้แต่ง

  • คณกร สว่างเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • อัครนันท์ อัศวรัชต์โภคิน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • พงษ์พันธ์ นารีน้อย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ความพึงพอใจ, ผู้ใช้บริการ, ศูนย์บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ เปรียบเทียบความพึงพอใจจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศูนย์บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ประชากร คือ ผู้ใช้บริการ จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.982 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และค่าเอฟ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผู้ใช้บริการที่มีเพศ อายุ และสถานภาพต่างกัน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ใช้บริการที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3. แนวทางการพัฒนา 1. เจ้าหน้าที่ควรให้บริการด้วยความถูกต้องรวดเร็ว 2. เจ้าหน้าที่ควรให้บริการด้วยความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ มีความสามารถในการตอบคำถาม ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง ตรงประเด็น แต่งกายสุภาพเรียบร้อย วางตัวเหมาะสม 3. เพิ่มสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น เอกสาร แผ่นพับ และมีจุดบริการสืบค้นข้อมูล และ 4. เพิ่มตู้รับฟังความคิดเห็นหรือช่องทางแสดงความคิดเห็นอื่น ๆ เพื่อสะดวกต่อผู้ใช้บริการ

References

ตวงรัตน์ แสงทองไทย. (2549) ความพึงพอใจต่อการจัดระบบบริหาร ด้านบริการแบบจุดเดียว เบ็ดเสร็จ ณ สำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษางานทะเบียนราษฎร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2565). เกี่ยวกับบัณฑิตวิทยาลัย. สืบค้น 12 สิงหาคม 2566, จาก https://grad.bsru.ac.th/grad2019/index.php#.

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2566). แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Action Plan) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. กรุงเทพฯ: กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2564). มจธ.กับความเป็นสากลและการยอมรับในระดับนานาชาติ. สืบค้น 9 สิงหาคม 2566, จาก https://www.kmutt.ac.th/k-more-stories.

สุภาณี ประชุมชน. (2560). การบริหารจัดการงานกิจการนักศึกษาแบบ One Stop Service : OSS. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุดาภรณ์ อรุณดี (2565) การบริการภาครัฐแนวใหม่ กรณีศึกษา : การให้บริการประชาชน (One Stop Service) บนสถานีตำรวจนครบาล NEW PUBLIC SERVICES A CASE STUDY : ONE STOP SERVICE AT THE METROPOLITAN POLICE STATION. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(1), 31-42.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 “พลิกโฉมประเทศไทยสู่ สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite