การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลของกรมป่าไม้ตามหลักอิทธิบาท 4
คำสำคัญ:
การทรัพยากรบุคคล, กรมป่าไม้, หลักอิทธิบาท 4บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลของกรมป่าไม้ตามหลักอิทธิบาท 4 โดยศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ งานวิจัย บทความวิชาการและวิเคราะห์สังเคราะห์ ผลจากการศึกษาพบว่า กรมป่าไม้มีระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาคนเก่งคนดีไว้ในราชการ ตลอดจนเพื่อสร้างความพร้อมให้แก่ข้าราชการผู้มีศักยภาพสูงในราชการอย่างเป็นระบบ ก.พ. โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 8(3) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 จึงปรับปรุงระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง(High Performance and Potential System : HiPPS) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริหารกำลังคนที่มีคุณภาพของภาคราชการ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน และนำหลักธรรมคืออิทธิบาท 4 นำมาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือพัฒนาบุคลากรในกรมป่าไม้ให้มีความรักในองค์กร มีความพยายามขยันหมั่นเพียรในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ มีใจจดจ่อและมีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องเหมาะสมบริสุทธิ์และยุติธรรมจึงสามารถทำงานในระบบของข้าราชการได้เป็นอย่างดี หลักธรรมจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนามนุษย์ในองค์การให้เป็นผู้มีสมรรถภาพ คือ มีความรู้ ความสามารถและทักษะที่ดีในการทำงาน มีสุขภาพ คือ มีภาวะแห่งความสุขกายสบายใจ มีกำลังใจที่ดีในการทำงานและจะนำไปสู่บันใดสุดท้าย คือ องค์กรที่ประกอบด้วยนักบริหาร บุคลากรทุกฝ่ายก็จะเต็มด้วยคุณภาพ สร้างความเข้มแข็งแก่องค์กร รวมทั้งความสำเร็จของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยบุคลากรเจ้าหน้าที่ นักบริหาร ผู้ใช้บริการ เป็นต้น
References
พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม). (2558). พุทธธรรมกับการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). พะเยา: โรงพิมพ์เจริญอักษร.
พระราชวิสุทธิโมลี (ทองดี สุรเตโช). (2525). หลักธรรมสำหรับการพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
สุนันทา เลาหนันท์. (2556). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.
Boxall, PF. (2007). The Goals of HRM, in (eds) P Boxall, J Purcell and P Wright. Oxford Handbook of Human Resource Management. Oxford: Oxford University Press.
Delbridge, R and Keenoy, T. (2010. T. Beyond Managerialism. The International Journal of Human Resource Management, 21(6), 799-817.
Watson, TJ., (2010). Critical Social Science, Pragmatism, and the Realities of HRM.The International Journal of Human Resource Management, 21(6), 915-931.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น