ความเชื่อและความศรัทธาในวัตถุมงคลของคนไทยในปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • พระครูสังฆรักษ์มานพ อคฺคมาณโว วัดพนัญเชิงวรวิหาร

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, ความศรัทธา, วัตถุมงคล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอความเชื่อและความศรัทธาในวัตถุมงคลของคนไทยในปัจจุบันว่ามีอย่างไรบ้าง มีความสอดคล้องกับคำสอนพระพุทธศาสนาอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อและความศรัทธาในวัตถุมงคลของคนไทยนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1. กลุ่มที่มีความเชื่อในพุทธศาสตร์หรือศรัทธาในคุณค่าทางพระพุทธศาสนา คือ กลุ่มที่เน้นเรื่องเป็นตัวแทนความดีงามของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หรือบุคคลที่ศรัทธานั้น โดยความศรัทธาในกลุ่มนี้จะสอดคล้องกับ ศรัทธา 4 ในพระพุทธศาสนา 2. กลุ่มที่มีความเชื่อไสยศาสตร์ คือ กลุ่มที่มุ่งอิทธิปาฏิหาริย์ ดลบันดาล ต้องการความแคล้วคลาดปลอดภัย โดยความศรัทธาในกลุ่มนี้จะขัดแย้งกับ ศรัทธา 4 ในพระพุทธศาสนา 3. กลุ่มที่ไม่ได้มีความเชื่อและศรัทธาในความดีหรืออิทธิปาฏิหาริย์ คือ กลุ่มที่เน้นพุทธศิลป์และกลุ่มที่เน้นเรื่องการเป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์ โดยความเชื่อและศรัทธาในวัตถุมงคลนั้น หากจะถือว่าเป็นประโยชน์สูงสุดตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนานั้นต้องเป็นการบูชาในลักษณะที่วัตถุมงคลนั้นเป็นตัวแทนของบุคคลที่มีความดี หรือบูชาบุคคลที่ควรบูชาตามหลักธรรมในมงคลสูตร ต้องมีความเชื่อแบบพุทธศาสตร์ มีศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา บูชาไปถึงความดีของสิ่งที่เนื่องด้วยวัตถุมงคลนั้น ๆ และหมั่นทำตามคำสอนหรือความดีของบุคคลที่ควรบูชานั้นด้วย

References

เทพ สงวนกิตติพันธุ์. (2566). ความเชื่อ. ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.stou.ac.th/offices/rdec/udon/upload/socities9_10.html

เทพชู ทับทอง. (2508). พระเครื่องและพระบูชา พระกรุเก่าวัด. ธนบุรี: ป. พิศนาคะการพิมพ์.

พระครูอนุกูลกัลยาณกิจ. (2564). พระพุทธศาสนากับการสร้างวัตถุมงคล. วารสารภาวนาสารปริทัศน์, 1(1), 79-96.

พระธรรมธรชัยสิทธิ์ ชยธมฺโม (ศรชัย). (2560). ศึกษาการบูชาวัตถุมงคลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมดีในทางพระพุทธศาสนาของ ประชาชนอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2539). สถานการณ์พระพุทธศาสนาและกระแสไสยศาสตร์. กรุงเทพฯ: สหธรรมิกการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิชเคชั่นส์ จํากัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite