กระบวนการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
กระบวนการ, การบริหารจัดการ, อธิกรณ์ของคณะสงฆ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สภาพทั่วไปและศึกษากระบวนการพัฒนาการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนร่วมในการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการอธิกรณ์ พบว่า ด้านจุดแข็ง นโยบายของเจ้าคณะผู้ปกครองที่มีความชัดเจน ด้านจุดอ่อน การจัดการเรื่องร้องเรียนของคณะสงฆ์แต่ละอำเภออาจมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ด้านโอกาส การสนับสนุนให้พระสงฆ์ได้มีโอกาสได้เข้ารับการศึกษา ด้านอุปสรรค ในสังคมเกิดความเห็นแก่ตัวมากขึ้น สภาพความเป็นอยู่ 2. กระบวนการบริหารจัดการอธิกรณ์ ประกอบด้วย 1. ด้านสัมมุขาวินัย มีการเชิญทุกฝ่ายมาพิจารณาต่อหน้า พิจารณาโดยยึดหลักพระธรรมวินัยและกฎหมาย 2. ด้านสติวินัย การพิจารณาโดยยึดสติหรือเจตนาของผู้กระทำผิดเป็นสำคัญ 3. ด้านอมูฬหวินัย ยกความผิดให้หากกระทำผิดในขณะที่มีอาการผิดปกติทางจิต 4. ด้านปฏิญญาตกรณะ การจดบันทึกข้อสอบสวนที่ตรงไปตรงมา ถูกต้องและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย 5. ด้านเยภุยยสิกา ตัดสินโดยเสียงข้างมาก ไม่ขัดกับพระธรรมวินัยและกฎหมาย 6. ด้านตัสสปาปิยสิกา เมื่อมีข้อมูลหลักฐานครบ ต้องใช้พระวินัย กฎหมาย กรณีผู้กระทำความผิดยังปฏิเสธ แต่มีพยานหลักฐาน ต้องสั่งลงโทษตามความผิดนั้น 7. ด้านติณวัตถารกวินัย โทษไม่หนัก
ให้ประนีประนอมเลิกแล้วต่อกัน การบริหารความขัดแย้ง 1. การปรองดอง ให้หันหน้าคุยกัน มีเมตตาเป็นที่ตั้ง 2. การหลีกเลี่ยง พูดคุยกันเรื่องวินัยมากขึ้น 3. การประนีประนอม สามารถตกลงกันได้โดยวิธีพบกันครึ่งทาง 4. การแข่งขัน ให้นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์กัน 5. การให้ความร่วมมือ ให้คู่กรณียินยอมที่จะหันหน้าเข้าหารือกัน
References
คชาภรณ์ คำสอนทา. (2561). รูปแบบการระงับอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ไทยตามหลักพุทธสันติวิธี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม). (2556). ธรรมาภิบาลในการปกครองคณะสงฆ์ของพระธรรมปริยัติเวที. ที่ระลึกในโอกาสได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ เจ้าคณะ รองชั้นหิรัญบัฏ ในราชทินนาม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสันติธรรมาภิรัต (บุญชัย สนฺติกโร). (2558). การพัฒนารูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมนึก กิตฺติโสภโณ. (2556). รูปแบบการลงโทษในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูประทีปวัชราภรณ์ (วิเชียร ปญฺญาทีโป). (2565). กลไกการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(2), 194 – 208.
ยงยุทธ วัชรดุลย. (2548). องค์พุทธมามกะ ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทโพสต์ พับลิชชิง จำกัด มหาชน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น