กระบวนการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระครูสังฆรักษ์มานพ อคฺคมาณโว วัดวรนายกรังสรรค์เจติยบรรพตาราม พระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

กระบวนการ, จัดการทรัพย์สิน, วัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สภาพทั่วไปและศึกษากระบวนการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยการพรรณนาโวหาร

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ด้านจุดแข็ง การบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสตามที่กฎหมายกำหนด ด้านจุดอ่อน ขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ในเรื่องข้อกฎหมายและการทำบัญชีต่าง ๆ ด้านโอกาส เทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถช่วยในการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดได้ ด้านอุปสรรค ผู้มีอิทธิพล และการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการทรัพย์สิน 2. กระบวนการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย ด้านการวางแผน เพื่อให้เจ้าอาวาสเข้าใจวิธีปฏิบัติและปฏิบัติได้ถูกตามกฎกระทรวง มีการวางแผนปฏิบัติงาน แบ่งเป็นแผนตามระยะเวลา ด้านการดำเนินการ เจ้าอาวาสและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องมีการดำเนินการร่วมกัน ด้านการตรวจสอบ มีการตรวจสอบโดยเจ้าคณะปกครอง และตรวจสอบร่วมกันเองระหว่างเจ้าอาวาส ไวยาวัจกร และประชาชน ด้านการแก้ไขพัฒนาต่อเนื่อง มีการพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการทรัพย์สินให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

References

บุญร่วม เทียมจันทร์. (2546). รวมกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พร้อมหัวข้อเรื่องมาตราสำคัญ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บุญร่วม.

พระครูวิสิฐพัชราจาร (ไชยยา เขมสิริ). (2557). การพัฒนาการจัดการสาธารณูปการของพระสังฆาธิการจังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดวิสุทธิวัฒน์ (ไพโรจน์ ภูริปญฺโญ). (2558). การจัดการสาธารณูปการของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2527). ศาสนากับการเปลี่ยนแปลงการเมืองและสังคม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

สำนักเลขาธิการมหาเถรสมามคม. (2554). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2565). สรุปข้อมูลจำนวนวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้น31 ตุลาคม 2565, จาก https://aya.onab.go.th/cms/s26/u287/จำนวนวัดในพระนครศรีอยุธยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite