การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
หลักพุทธธรรม, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ตัวแทนประกันชีวิตบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 218 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้สำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน การสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก พบว่า 1.กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลกมี 2 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่ากระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถร่วมกันทำนายการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก ได้ร้อยละ 61.60 2. หลักภาวนา 4 ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก มี 3 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า หลักภาวนา 4 สามารถร่วมกันทำนายทำนายการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก ได้ร้อยละ 84.80 ตามลำดับ 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลกคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลกทั้ง 3 ด้าน ประกอบไปด้วย 1. ด้านการพัฒนาปัจเจกบุคคล 2. ด้านการพัฒนาอาชีพ 3. ด้านการพัฒนาองค์กร โดยในการประยุกต์หลักภาวนา 4 โดย 1. ด้านกายภาวนา กายที่พัฒนาแล้ว 2. ด้านศีลภาวนา 3. จิตภาวนา 4. ปัญญาภาวนา เป็นพื้นฐานในการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก
References
ชนะยุทธ เกตุอยู่. (2562). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธตามแนวทางของพระสังฆพัฒนาในจังหวัดเพชรบูรณ์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฐิติทัตน์ นิพนธ์พิทยา. (2562). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ถนอมขวัญ อยู่สุข. (2564). การพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธของผู้เกษียณอายุการปฏิบัติงาน จากกรมชลประทาน (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย).
ทัศมาวดี ฉากภาพ. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย.
พระณธีร์วิชญ์ วรโภคินธนะโชค (คมฺภีรปญฺโญ). (2560). การพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรเทศบาลในยุคโลกาภิวัตน์ตามหลักพุทธธรรม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูใบฎีกาอภิชาติ ธมฺมสุทฺโธ. (2562). กระบวนการพัฒนาพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้วยการใช้ชุดกิจกรรมภาวนา 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 5612-5625.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2565). หลักจรรยาบรรณและศีลธรรม. สืบค้น 2 มกราคม 2565, จาก https://www.oic.or.th/th/industry/intermediaries/agent/moral
สุนิดา พริบไหว และเจษฎา สุนันท์ชัย. (2551). คู่มือปฏิบัติงานสำหรับนายหน้าประกันชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย.
อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล และคณะ. (2559). คู่มือปฏิบัติงานสำหรับนายหน้าประกันชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย.
Nadler, L. (1984). The Handbook of Human Resource Development. New York: Wiley.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น