การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • ชลิดา ละม้ายพันธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • แสงจิตต์ ไต่แสง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ประสิทธิภาพ, การปฏิบัติงานของบุคลากร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และ 2. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ บุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 330 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน และวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถในการทำงาน อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับการทำงาน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านคุณภาพของงานและด้านเวลาในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก  รองลงมาคือด้านค่าใช้จ่าย 2. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ได้แก่องค์กรควรมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นหลักประกันให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการอบรมเพื่อเพิ่มทักษะความรู้เพิ่มเติม ควรมีการปรับปรุงค่าตอบแทนและจัดหาสวัสดิการเพิ่มเติม ควรจัดให้มีการอบรม/สัมมนา ควรเปิดโอกาสให้แสดงความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน และควรมอบหมายงานให้เหมาะสมเพื่อให้บุคลากรไม่เครียดและมีความสุขกับการทำงาน

References

ณัฐวรรณ สาสิงห์. (2562). การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร (สารนิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ทิพวรรณ ศิริคูณ. (2542). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ: ศึกษากรณี บริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (สารนิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสตร์). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พิชญากร บุดดารวม. (2557). ศึกษาเรื่องคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต 2 (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ภัทรดนัย ฉลองบุญ. ( 2561). ความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ .วารสารสันติศึกษาปริทัศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 595 – 597.

มุสตอฟา หมัดบินเฮด. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง (สารนิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสตร์). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วรรณา วงษ์ธง. (2556). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมพงศ์ รัตนนุพงศ์. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ข่าว SMM (สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis (3rd Ed). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite