การประยุกต์หลักพละธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการบริหารจัดการ โครงการจักรยานสาธารณะของกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จุไรภรณ์ วิจักขณวงศ์ บริษัท คิว แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พละธรรม, ประสิทธิผล, การบริหารจัดการ, จักรยานสาธารณะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการ 2. เพื่อปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการ และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะเพื่อเชื่อมต่อกับการบริการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนที่เป็นสมาชิกโครงการจักรยานสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 380 คน และเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะ ได้แก่ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย การปฏิบัติ การวางแผน การปรับปรุงแก้ไข การตรวจสอบ และหลักพละ 4 ประกอบด้วย สังคหพละ (กำลังการสงเคราะห์) วิริยะพละ (กำลังความเพียร) ปัญญาพละ (กำลังความรู้) อนวัชชพละ (กำลังความสุจริต) ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะเพื่อเชื่อมต่อกับการบริการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะ ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย การผลิตหรือผลิตภัณฑ์ ประสิทธิภาพ ความพึงพอใจ การปรับเปลี่ยน การพัฒนา โดยนำหลักพละธรรมเข้ามาประยุกต์เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการจักรยานสาธารณะ ประกอบด้วย ปัญญาพละ (กำลังความรู้) วิริยะพละ (กำลังความเพียร) อนวัชชพละ (กำลังความสุจริต) และสังคหพละ (กำลังการสงเคราะห์) มีการเสริมสร้างด้วยวงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบ และการปรับปรุงงาน

References

คณิตดา กรรณสูต. (2565). พุทธวิธีการบริหารจัดการองค์กรคุณภาพของบริษัทมหาชนจำกัด (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชัชญา วงศ์สรรค์. (2561). รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีประสิทธิผล ตามหลักพุทธธรรม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เดลินิวส์. (2565). กทม. หนุนใช้งาน “ปันปั่น” ลดจราจรเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม, สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://d.dailynews.co.th/bangkok/796973/.

ธงชัย คล้ายแสง. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัทธนัญพร พิพิธวรโภคิน. (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติราชการของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาเก็ตเทียร์ ทีม. (2565). ทำไม ไบร์ทแชร์ริ่ง ส่อแววไม่รอดในไทย. สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://marketeeronline.co/archives/20071.

วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์. (2558). ระบบจักรยานสาธารณะในกรุงเทพฯ กรณีศึกษาจักรยานสาธารณะปันปั่น. กรุงเทพฯ: Safety Today is Safety Tomorrow The 3rd Thailand Bike and Walk Forum.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite