การเสริมสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อจริยธรรมทางการเมือง ของเยาวชนในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุทธิพงษ์ กุลศิริ ข้อมูล บริษัท บางกอก ออโตเมชั่น เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
  • อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อนุภูมิ โซวเกษม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเสริมสร้าง, จิตสำนึก, ความรับผิดชอบ, จริยธรรมทางการเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อศึกษาระดับจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อจริยธรรมทางการเมือง 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคมกับการเสริมสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อจริยธรรมทางการเมืองของเยาวชน และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อจริยธรรมทางการเมืองของเยาวชน โดยการประยุกต์หลักธรรม การวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตบางคอแหลม จำนวน 351 คน เก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยการหาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) การวิจัยคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ

 ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อจริยธรรมทางการเมืองของเยาวชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.85) 2. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ด้านสถาบันสื่อมวลชน ด้านสถาบันการศึกษา ด้านกลุ่มเพื่อน ด้านสถาบันศาสนา สถาบันทางการเมือง และด้านสถาบันครอบครัว มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อจริยธรรมทางการเมืองของเยาวชนในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง (r=.498**) จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อจริยธรรมทางการเมืองของเยาวชนในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร โดยการประยุกต์หลักโลกปาลธรรม ดังนี้ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ผู้ใหญ่ต้องสอนให้เด็กคิดและปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่าง ด้านการมีจิตสาธารณะ ปลูกฝังเยาวชนให้เห็นประโยชน์ส่วนรวมให้มากกว่าประโยชน์ส่วนตน ไม่เห็นแก่ตัว มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ตนเองและละอายต่อผู้อื่น เคารพกฎหมาย รู้จักบังคับตัวเองให้มีความพอประมาณ ไม่โลภ ไม่เบียดเบียนทั้งตัวเองและผู้อื่น ฝึกความอดทน อดกลั้นต่อความยากลำบาก เป็นตัวอย่างที่ดี ไม่ฟุ่มเฟือย ใช้ของอย่างประหยัดและรู้คุณค่า รู้จักพอเพียง เน้นคุณค่าของความพยายามมากกว่าผลสำเร็จปลายทาง

References

เมธี ไชยศรีหา. (2561). แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 105-118.

จิตรัตนาภรณ์ เวียงพล และคณะ. (2561) การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน เครือข่ายเมืองเชียงขวัญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 7(1), 12-23.

ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2556). บทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมทางสังคม และอัตลักษณ์ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ทิพย์ หาสาสน์ศรี. (2553). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธัญญารัตน์ แก้วตะพาน. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ EACDE MODEL ในสาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ที่ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 17(3), 79-91.

พรพรรณ มากบุญ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะทางสังคมของเด็กและเยาวชนชายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 2 จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยบริการ, 24(41), 114-125.

พระครูศรีปริยัตยาภิมณฑ์ (นพพล เขมนโว). (2564). การเสริมสร้างค่านิยมของประชาชนเพื่อต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทางการเมืองในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระณัฐพงษ์ ณฏฺฐวํโส (สุดใจ). (2564). การกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชน อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภมรรัตน์ ชุมภูประวิโร และคณะ. (2561). การปลูกฝังความสุจริตของเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2550, 6 เมษายน) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก.

รุ่งฤดี กล้าหาญ และคณะ. (2558) การพัฒนารูปแบบการวัดและประเมินพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายของไทยในศตวรรษที่ 21 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.

ศิริสุข นาคะเสนีย์ และคณะ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 9(1), 80-90.

หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ. (2562). 2 ปีประกาศใช้ รธน. สำรวจสิ่งที่ กรธ. คิด กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสนามเลือกตั้ง 2562. สืบค้น 30 มกราคม 2565, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-47828666

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite