ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการคนละครึ่งของประชาชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศุภกฤต เนียมสอาด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อนุภูมิ โซวเกษม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, โครงการคนละครึ่ง, ประชาชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ความพึงพอใจที่มีต่อนโยบายภาครัฐ โครงการคนละครึ่ง 2. เปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อโครงการคนละครึ่ง และ 3. เสนอแนวการปฏิบัติที่สร้างความพึงพอใจต่อโครงการคนละครึ่งของประชาชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 399 คน จากประชาชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ จำนวน 9 รูปหรือคน และด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความพึงพอใจที่มีต่อนโยบายรัฐ โครงการคนละครึ่ง ของประชาชนเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 3.29) 2. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความพึงพอใจที่มีต่อโครงการคนละครึ่ง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐาน ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความพึงพอใจที่มีต่อโครงการคนละครึ่งไม่แตกต่างกัน จึงไม่ยอมรับสมมติฐาน 3. แนวการปฏิบัติที่สร้างความพึงพอใจต่อโครงการคนละครึ่งของประชาชน โดยการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ ดังนี้ ด้านนโยบายรัฐ ประชาชนเลือกให้ความสนใจนโยบายรัฐ ด้านเงื่อนไขการใช้สิทธิ์ รัฐกำหนดหลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ การจับจ่ายใช้สอยสะดวก รัฐมีการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างทั่วถึงผ่านหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชาชน ด้านวิธีการเข้าถึง โดยการให้ข้อมูลวิธีการใช้จ่าย มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทุกประเภท ด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร โดยรัฐให้ข้อมูลผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ไปกระจายต่อท้องที่และส่งถึงประชาชน พร้อมติดตามรายงานปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงโครงการของประชาชน

References

โครงการคนละครึ่ง. (2565). โครงการคนละครึ่ง. สืบค้น 15 มกราคม 2565, จากhttps://www.xn--42caj4e6bk1f5b1j.com /information

จริญญา ปุญชลักข์. (2565). ประสิทธิผลการดำเนินโครงการคนละครึ่งของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 13(3), 125-140.

ชนิดา กลัวผิด และคณะ. (2558). การรับรู้และพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่มีต่อการนำหลักธรรมมาดำเนินชีวิต (รายงานวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ณธกร ศรีโฉมงาม. (2560). กระบวนการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งของประชากร ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเงินและการธนาคาร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒ. (2565). ความคิดเห็นต่อความสำเร็จนโยบายสาธารณะ : กรณีศึกษาโครงการคนละครึ่ง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 11(2), 42-55.

พระสมชาย ทนฺตกาโย (เพ็ชรแจ้ง). (2562). การบริหารโครงการไทยนิยมยั่งยืนขององค์การบริหารส่วน ตำบลวังจันทร์ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบันฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชรภรณ์ เมธาจีรเวช. (2563). การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจออกมาเลือกตั้งของผู้มีสิทธิ ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์). นครปฐม: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภชัษนัญฑ์ จันตัน. (2560). การรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบันฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สถิติประชากรเขตสายไหม. (2564). สถิติประชากรเขตสายไหม. สืบค้น 25 สิงหาคม 2564, จาก www.bangkok.go.th/saimai

อณิกร ดอนแก้ว. (2561). การรับรู้นโยบายสาธารณะของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ของบุคลากรสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทฑฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เอกภาคย์ คงมาลัย และชาญชัย จิวจินดา. (2565). ความคาดหวังของผู้ใช้บริการโครงการคนละครึ่งผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 7(1),65-79.

News-thaipbs. (2565). ผลสำรวจชี้คนไทยชอบ คนละครึ่ง เข้าร่วมมากสุด หวังลดค่าใช้จ่าย. สืบค้น 15 มกราคม 2565, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/299009

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite