การส่งเสริมจิตสำนึกวิถีประชาธิปไตยของประชาชน ในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, จิตสำนึก, วิถีประชาธิปไตยบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมจิตสำนึกวิถีประชาธิปไตย 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริม จิตสำนึกวิถีประชาธิปไตย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมจิตสำนึกวิถีประชาธิปไตยของประชาชนใน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีค่าความ เชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.663 ประชากรคือประชาชนในเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และสุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 399 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการส่งเสริมจิตสำนึกวิถีประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอบางกรวย อยู่ในระดับมาก ( = 3.86) 2. การเปรียบเทียบการส่งเสริมจิตสำนึกวิถีประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอบางกรวย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชาชนที่มีเพศ และอาชีพต่างกัน มีการส่งเสริมจิตสำนึกวิถีประชาธิปไตย ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีอายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีการส่งเสริมจิตสำนึกวิถีประชาธิปไตย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมจิตสำนึกวิถีประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม พบว่า 1. ด้านความรับผิดชอบและพึ่งพาตนเอง มีการประยุกต์สมัยเก่าให้สามารถเข้ากับสมัยใหม่ได้ 2. ด้านเคารพความเสมอภาค คือ ประชาชนทุกคนควรมีส่วนช่วยในการส่งเสริมจิตสำนึกประชาธิปไตย และ 3. ด้านปัญหาและอุปสรรค คือ ประชาชนต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ภายในชุมชน ภาครัฐต้องเข้าไปร่วมส่งเสริมจิตสำนึกประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นภายในชุมชน
References
จิรกิตต์ภณ พิริยสุวัฒน์. (2561). การสร้างเสริมจิตสำนึกความเป็นพลเมืองดีด้วยทุนทางวัฒนธรรมตาม แนวพุทธศาสนา (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระทวีศักดิ์ เตชธโร. (2561). ประสิทธิภาพการจัดการการศึกษาธรรมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเตชินท์ สิทฺธาภิภู (ผากา). (2564). ประสิทธิผลการให้บริการของเทศบาลตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2557). ธัมมิกสังคมนิยม (ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักพิมพ์กรีน ปัญญาญาณ.
มัฌสุรีย์ มณีมาศ. (2562). ความเชื่อถือไว้วางใจของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของหน่วยงานภาครัฐในสังคมพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ : กรณีศึกษาจังหวัดนราธิวาส (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มัลลิกา มัตติโก. (2541). จิตสำนึกทางสังคมของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: เจริญดีการพิมพ์.
วิไลวรรณ พ่วงทอง. (2559). ประสิทธิผลการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการ). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
สุขุม นวลสกุล. (2557). การเมืองและการปกครองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2565). พุทธพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 5(1), 101-115.
อัจฉรา อยุทธศิริกุล. (2561). การศึกษาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียน มัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา) นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อำเภอบางกรวย. (2565). สถิติประชากรปี 2565 อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี : ที่ว่าการอำเภอบางกรวย.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น