พุทธศาสนากับระบบอุปถัมภ์ของข้าราชการไทย
คำสำคัญ:
พระพุทธศาสนา, ระบบอุปถัมภ์, ข้าราชการไทยบทคัดย่อ
ประเทศไทยปกครองด้วยระบบอุปถัมภ์มาจนติดเป็นนิสัย ทั้งที่ระบบอุปถัมภ์อยู่ตรงกันข้ามกับระบบคุณธรรมและทำลายระบบยุติธรรมโดยสิ้นเชิง การยอมรับระบบอุปถัมภ์ก็เท่ากับทำลายระบอบประชาธิปไตยทางอ้อม มีนักวิชาการและนักวิเคราะห์หลายท่านมองว่าระบบอุปถัมภ์เป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาการเมืองการปกครอง อีกทั้งเป็นต้นตอของปัญหาการทุจริต หรือทำให้การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยล้าหลัง อีกด้านบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมความหวังเต็มเปี่ยมที่จะพัฒนาประเทศ แต่ไม่มีสมัครพรรคพวก ญาติพี่น้อง และบุคคลที่เป็นกลุ่มอ้างอิง ก็ยากที่จะนำพาตนเองเข้าไปทำงานและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศได้ ระบบอุปถัมภ์ดังกล่าวมีอยู่มากในระบบราชการไทย ปัจจุบันหลักพุทธธรรมเป็นสัจธรรมอันประเสริฐ สามารถน้อมนำผู้ประพฤติประสบสันติสุขได้จริง ปัญหาทุกอย่างแก้ได้ด้วยหลักพุทธธรรม หลักธรรมอยู่ที่ผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชาจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ บทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เขียนขึ้นเพราะเพื่อให้เยาวชน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาเข้าใจถึงระบบอุปถัมภ์ในหน่วยงานราชการ รู้และเข้าถึงแนวทางการนำหลักสังคหวัตถุ 4 มาปรับใช้กับระบบอุปถัมภ์ และการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการด้านข้อดี ข้อเสีย จากระบบอุปถัมภ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อไป
References
กุลลดา เกษบุญชู-มิ้ด. (2552). วิวัฒนาการรัฐอังกฤษ ฝรั่งเศส ในกระแสเศรษฐกิจโลก จากระบบฟิวดัลถึงการปฏิวัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.
ณัฐนันท์ ธนัทพิพัฒน์กุล. (2550). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยผ่านทฤษฎีจริยศาสตร์ของอิมมานูเอ็ล คานต์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
เดโช สวนานนท์. (2545). พจนานุกรมศัพท์การเมือง. กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.
ถวิล อรัญเวศ. (2564). การบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมและระบบอุปถัมภ์. สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2565, จาก http://thawin09.blogspot.com/2021/08/blog-post_896.html.
ธีรวัฒน์ วงศ์วรัญญู. (2563). ผลกระทบของระบบอุปถัมภ์ในหน่วยงานราชการต่อการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ ในจังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(54), 65-75.
มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, 2546.
สนิท สมัครการ. (2545). มีเงินก็นับว่าน้อง มีทองก็นับว่าพี่: ระบบครอบครัวและเครือญาติของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2558). การแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ ในระบบราชการไทยให้เป็นรูปธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
สำนักงาน ก.พ. (2551). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: โกลบอลอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น.
อภิชาต สถิตนิรามัย และคณะ. (2556). ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย. เชียงใหม่: แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อำพัน ถนอมงาม. (2555). ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2565, จาก http://amphuntha.blogspot.com/
อุราชนก คงกล่ำ. (2561). ระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทย: วาระแห่งชาติที่ต้องเร่งแก้ไข. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 13 “วิถีนวัตกรรมไทยด้วยการพัฒนางานวิจัย” ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น