การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการ โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ

ผู้แต่ง

  • พงศ์นคร โภชากรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

คำสำคัญ:

บูรณาการหลักพุทธธรรม, การบริหารจัดการโครงการ, โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ และนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 372 คน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ พบว่า หลักการบริหารจัดการตามหลัก 7S ส่งผลต่อการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐได้ร้อยละ 37.7 และหลักอริยสัจ 4 ส่งผลต่อการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐได้ ร้อยละ 24.9 3. การพัฒนาการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ คือ การนำหลักการบริหารจัดการตามหลัก 7S นำมาบูรณาการกับหลักอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ (สภาพปัญหา) สมุทัย (สาเหตุของปัญหา) นิโรธ (เป้าหมายในการแก้ปัญหา) และ มรรค (แนวทางปฏิบัติ)

References

ณัฏฐ์ โอ้จินดา. (2563). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ในสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พระครูปลัดศักดิ์ มหาวีโร (โกศลสุภวัฒน์). (2564). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 สำหรับนักเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิวิธธวัชชัย (ขวัญชัย วรปุญฺโญ). (2564). การพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาชุมชนของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดพิจิตร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดราชันย์ ขวัญเมือง. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด). (2564). พุทธธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธีรวัฒน์ ธีรวฑฺฒนเมธี (พันธ์ศรี). (2559). แนวคิดเรื่องทุนมนุษย์: ทรรศนะจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ร่วมสมัยและพุทธปรัชญา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเทวประภาส วชิราณเมธี. (2559). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะองค์การบริหารส่วนตำบลในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสิริ์ยส สิริยโส (ชาลีเปรี่ยม). (2564). รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิศณุพงศ์ กล้ากสิกิจ. (2562). ต้นแบบการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดกำแพงเพชร (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

United Nations. (2015). General Assembly, Transforming our world: the 2030 Agenda for Sustainable Development. Retrieved February 17, 2022, from https://sdgs.un.org/2030agenda.

Yamane, T. 1973. Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite