แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ความสำเร็จของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กัญณัฏฐ์ กรวิทย์ธนโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุดา สุวรรณาภิรมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, การพัฒนา, ความสำเร็จ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางสังคม ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านความต้องการ และพฤติกรรมการสื่อสารที่ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ความสำเร็จของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร รวมถึงการนำเสนอแนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารของครอบครัวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาเขตที่ 1 และเขตที่ 2 ของกรุงเทพมหานคร ด้วยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 380 ราย ทำการใช้เครื่องมือสำหรับงานวิจัยเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษาศึกษาตอนต้น นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์ และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝงกับตัวแปรสังเกต และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝงกับตัวแปรแฝงด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.954

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลโดยรวมต่อคุณภาพชีวิตสู่ความสำเร็จของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านความต้องการ และพฤติกรรมการสื่อสาร ตามลำดับ และแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ความสำเร็จของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ควรให้ความสำคัญทางด้านจิตใจด้วยการเป็นส่วนหนึ่ง ด้านสังคมด้วยการมีสภาพแวดล้อมที่ดี และด้านความรักจากครอบครัว

References

นวลฉวี ประเสริฐสุข. (2558). สื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างสุขในครอบครัว. Veridian E-Journal Silpakorn University, 8(2), 737-747.

พรรณกนก รักศรีอักษร. (2554). ทักษะทางสังคมของวัยรุ่นอายุ 18-24 ปีที่เล่นเกมส์ออนไลน์โดยใช้บริการร้านอินเตอร์เน็ตในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). สภาพจิตใจของวัยรุ่น. สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/06062014-0847

วรพล ธุลีจันทร์. (2562). รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระดับปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

สตางค์ ศุภผล. (2562). แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับครอบครัวและการประเมินครอบครัว. สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.cpird.in.th/editors/userfiles/files/SG_Family.pdf

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร. (2565). ข้อมูลสารสนเทศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร. สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2565, จาก https://eoffice.sesao1.go.th/info

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2580). สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=13502

Kline, R.B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York: Guilford Press.

Likert, R. (1932). A technique for measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140(1), 5-55.

Maslow, A. (1970). Motivation and Personality (2nd ed.). New York: Harpers and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite