รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการตามแนววิถีชีวิตใหม่ของ โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5

ผู้แต่ง

  • พระวิมลมุนี (นนทพันธ์ ปภสฺสโร) สำนักศาสนศึกษาวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

รูปแบบ, วิถีชีวิตใหม่, โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการตามแนววิถีชีวิตใหม่ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) รวมจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 18 รูปหรือคน ในการวิจัยครั้งนี้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการตามแนววิถีชีวิตใหม่ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 การวางแผนบริหารจัดการตามแนววิถีชีวิตใหม่  กระบวนการบริหารจัดการตามคณะสงฆ์และแกนนำชุมชนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ได้ร่วมนำเสนอโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต่อยอดจากการดำเนินโครงการ มีการปรับรูปแบบการดำเนินงาน เริ่มวางแผนโครงการ เน้นการมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่าย โดยการประชาสัมพันธ์โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ให้บุคคล หน่วยงานเครือข่ายได้เข้าใจ กระบวนการบริหารจัดการตามคณะสงฆ์และแกนนำชุมชนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ได้สะสมผลงานวัด ผลงานชุมชน กิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นผลงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ที่เป็นรูปธรรม มีการปรับรูปแบบการดำเนินงาน เพื่อให้สมาชิกชุมชนค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมเข้าร่วมกิจกรรมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5

References

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2561). รายงานผลการตรวจสอบผลการปฏิบัติหน้าที่ประจำปี 2561. นนทบุรี: สยามคัลเลอร์พริน จํากัด.

พระครูปริยัติกิตติธำรง. (2562). สถาบันสังคม. กรุงเทพฯ: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ (ประยูร นนฺทิโย). (2565). การพัฒนาการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ด้วยการขับเคลื่อน โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(4), 373-368.

พระครูศรีปริยัตยารักษ์. (2558). รูปแบบการสร้างเครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล 5 เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพสิงหวราจารย์ (โสภณ โสภโณ) และคณะ. (2562). การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(3), 1-14.

พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ. (2560). หมู่บ้านรักษาศีล 5 : รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 440-415.

พระเมธีวัชรประชาทร (ประยูร นนฺทิโย) และพระครูสังฆรักษ์เอกลักษณ์ อชิโต. (2566). การพัฒนาเครือข่ายสามเณรในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ, 1(4), 52-66.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2564). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมคิด พรมจุ้ย. (2563). เทคนิคการประเมินโครงการ. นนทบุรี:จตุพร ดีไซน์.

Gulick, L. & Urwick, L. (1973). The Science of Administration. New York: Columbia University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite