แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 1
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, การปฏิบัติงาน, สำนักงานอัยการภาค 1บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อศึกษาะระดับความผูกพันต่อองค์กรและระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 2. เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน จำแนกตามประเภทของบุคลากร ระยะเวลาการปฏิบัติงาน 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันธ์ต่อองค์กรกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และ 4. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 212 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หาความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน และวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับระดับความผูกพันต่อองค์กรและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. บุคลากรในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 1 ที่ประเภทบุคลากร ระยะเวลาการปฏิบัติงานแตกต่างต่างกัน มีความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 1 แตกต่างกัน 3. ความผูกพันต่อองค์กรกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 1 โดยรวมมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง
และ 4. แนวทางในการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 1 ได้แก่ องค์กรควรจัดทำคู่มือในการปฏิบัติงาน วางแผนระบบการทำงานให้เป็นระบบ จัดบ้านพักสวัสดิการให้กับบุคลากรทุกจังหวัด จัดฝึกอบรม สนับสนุนคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานให้เพียงพอต่อบุคลากร และควรจัดให้มีกิจกรรมเชื่อมมิตรภาพทั้งในระดับหน่วยงานย่อย และหน่วยงานระดับภาค เพื่อเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
References
กมลวรรณ ปานประดิษฐ์. (2560). แรงจูงใจต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
เกศณรินทร์ งามเลิศ. (2559). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน และลูกจ้าง องค์การคลังสินค้า (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จุรี วรรณาเจริญกุล. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
ณัฏฐ์พัฒณ์ ฐีระเวช. (2563). แรงจูงใจกับความผูกพันในงานของข้าราชการเรือนจำกลางคลองเปรม (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
พิญาภรณ์ เต็งพานิชกุล. (2558). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตบางแค (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
มณีรัตน์ ทองโอน. (2564). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรรณา อาวรณ์. (2557). แรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการรัฐสภาระดับปฏิบัติงาน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
วัชระ แย้มชู. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานใหญ่ (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
ศิริวรรณ บัวโชติ และ กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2565). ความผูกพันของข้าราชการธุรการที่มีต่อสำนักงานอัยการภาค 6. วารสารการพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 7(5), 140-152.
สำนักงานอัยการสูงสุด. (2565). ประวัติสำนักงาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจและอำนาจหน้าที่ และโครงสร้างบุคลากร. สืบค้น 15 ธันวาคม 2565, จาก https://www.ago.go.th/oagsite/.
สิริพัตร พรหมมณี. (2558). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง) นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
Herzberg, F. (1959) The Motivation to Work. New York: John Wiley & Sons.
Yamane, T. (1976). Statistic: An Introductory Analysis (3rd Ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น