หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • วีนัส ธรรมสาโรรัชต์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2. เพื่อนำเสนอหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 181 คนและเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Multiple Regression Analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.80, S.D.= 0.61) เรียงลำดับได้ดังนี้ 1. การพัฒนาตนเองทางวิชาชีพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในระดับองค์กรและระดับเครือข่าย 2. มีจิตวิญญาณความเป็นครู แสวงหาความรู้ มุ่งมั่นในการทำงานเพื่อให้สัมฤทธิ์ผล มีจิตวิญญาณความเป็นครูเพื่อประโยชน์ต่อลูกศิษย์ 3. ศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือ 4. ความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยสามารถใช้โปรแกรมเพื่อสร้างสื่อดิจิทัลได้อย่างดี สร้างสรรค์ และมีจริยธรรม และ 5. ทักษะในการปฏิบัติหน้าที่โดยมีทักษะในการทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหา การสื่อสารกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน 2. หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี มีความสัมพันธ์ดังนี้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 5 ด้าน โดยนำหลักพุทธธรรมได้แก่ ไตรสิกขา เข้ามาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 1. ศีล พฤติกรรม โดยประพฤติ ปฏิบัติในทางที่ดีทั้งทางกาย วาจา และใจ 2. สมาธิ จิตใจมุ่งมั่น โดยปฏิบัติงานโดยเอาใจฝักใฝ่ตรวจสอบผลงานอยู่เสมอ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอดทน 3. ปัญญา องค์ความรู้ โดยมีสติและแก้ไขโดยใช้หลักเหตุผล ปฏิบัติขัดเกลากิเลสลดความโลภ โกรธ หลง

 

References

กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานศึกษาธิการภาค 3. (2562). รายงานผลการดำเนินงาน โครงการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานศึกษาธิการภาค 3.

ชนะยุทธ เกตุอยู่. (2559). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธตามแนวทางของพระสังฆพัฒนาในจังหวัดเพชรบูรณ์ (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แผนพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา. (2566). ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.obec.go.th/wp-content/uploads/2019/06/รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล.pdf.

พระครูปลัดสิทธิชัย วิสุทฺโธ. (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสกสรรค์ สนวา และคณะ. (2564). สังเคราะห์กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความเป็นชุมชนประชาธิปไตย. วารสารการเมืองการปกครอง, 11(3), 45–65.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สายรุ้ง บุบผาพันธ์. (2558). การพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (2566). บุคลากร. สืบค้น 7 มกราคม 2566, จาก http://rb2.go.th /index.php#.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite