ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรที่เกิดจากการสื่อสารในยุคสังคมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • จิรัชญา ต่างใจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ปัญหาความขัดแย้ง, องค์กร, การสื่อสาร, สังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาความขัดแย้งในองค์กรที่เกิดจากการสื่อสารในยุคสังคมออนไลน์ ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างมากของสื่อออนไลน์ เข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมอย่างมากมาย แม้กระทั่งสังคมการทำงานในองค์กร ที่บุคลากรในองค์กรมีการใช้การสื่อสารบนพื้นที่ออนไลน์ในการรับส่งข้อมูล แชร์ข้อมูล ใช้เพื่อความบันเทิง เพื่อผ่อนคลายจากความเหน็ดเหนื่อยจากงาน การที่บุคลากรในองค์กร เข้าไปใช้พื้นที่สื่อออนไลน์ ในการโพสต์ข้อความ หรือรูปภาพ แสดงความคิดเห็น แต่ความคิดเห็นเหล่านั้น เข้าไปกระทบกับความรู้สึกและความสัมพันธ์ของบุคคลอื่นที่ถูกพาดพิงซึ่งอยู่ในองค์กรเดียวกัน ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในองค์กร การแสดงความคิดเห็นเกิดเป็นความขัดแย้ง ฉะนั้นผู้ใช้งานจึงต้องมีสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ 1. รู้เท่าทันสื่อในโลกออนไลน์ 2. เข้าใจความแตกต่างของบุคคล พื้นฐานครอบครัวของแต่ละคน 3. ใช้การสื่อสารออนไลน์เท่าที่จำเป็น และคำนึงถึงความเป็นจริงอย่างเหมาะสม 4. ระมัดระวังในการสื่อสาร หรือข้อมูลที่เผยแพร่ออกไป 5. บุคลากรในองค์กรควรมีจริยธรรม และมารยาทโดยเฉพาะเมื่อใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อลดความขัดแย้งในองค์กร และเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากร เพื่อการพัฒนาองค์กรให้เจริญขึ้น

References

ฐาศุกร์ จันประเสริฐ. (2556). การศึกษาสมรรถนะที่ต้องการจำเป็นด้านการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารในองค์กรภาครัฐ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 21(1), 1 - 22.

บุษบา สุธีธร. (2560). ความขัดแย้งและการคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างบุคคล. วารสารนักบริหาร, 37(1), 54-67.

พงศธร นวนศรี (2566). ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566, จากhttps://a31979667.wordpress.com

มนัสธนนท์ เอกโภควัฒน์. (2566). การใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/ elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2809

วราพร ดำจับ. (2560). การสื่อสารในยุคดิจิทัล. สืบค้น 7 สิงหาคม 2566, จาก https://www.chonburi.spu.ac.th/interdiscip/filepdf/A811497602203.

ศิระ ศรีโยธิน. (2560). การสื่อสารองค์กรเครื่องมือสำคัญของนักการตลาดในยุค Thailand 4.0. Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 1267 - 1276.

สุภาวดี เจริญวานิช. (2560). การรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์ผลกระทบและการป้องกันในวัยรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(4), 639 - 648.

อรรถพร ถาน้อย. (2566). สื่อสังคมออนไลน์เปลี่ยนโลกและเปลี่ยนชีวิตคน. สืบค้น 6 สิงหาคม 2566, จาก https://w2.med.cmu.ac.th/suandok-variety

อุไร ส้มเกลี้ยง และคณะ. (2563). การบริหารความขัดแย้งของพนักงานในองค์กรภาครัฐ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 18(1), 163 - 176.

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2557). นวัตกรรมสื่อสังคมกับประชาคมอคติ. สืบค้น 7 สิงหาคม 2566, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcin/article/view/42273

Robbins, S.P. & Judge, T.A. (2013). Organisational Behavior (15th ed.). Boston: Pearson.

Monataraphadung, S. (2016). Creative conflict management. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 6(2), 193-208.

McKenna, E. F. (2000). Business psychology and organisational behaviour: A student's handbook (3rd ed.). New York: Psychology Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-18

How to Cite