การส่งเสริมการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้งที่มีผลต่อการใช้สิทธิออกไปเลือกตั้งของประชาชนกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การรับรู้ข่าวสาร, สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, การใช้สิทธิเลือกตั้งบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. สภาพการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีผลต่อการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ 3. รูปแบบการส่งเสริมการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีผลต่อการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามหลักสัปปุริสธรรม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน พบว่า ประชาชนตระหนักก่อนที่จะตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งว่าการเป็นนักการเมืองจะต้องเป็นผู้ที่มีความเสียสละ และยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีผลต่อการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3. รูปแบบการส่งเสริมการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีผลต่อการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามหลักสัปปุริสธรรม การมีเสรีภาพของสื่อทำให้การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของประชาชน ออกนอกกรอบมากขึ้นโดยเฉพาะการศึกษาที่ผ่านโซเชียลมีเดีย อันเป็นสื่อที่มีความทันสมัยและรวดเร็วสามารถนำมาประยุกใช้ในชีวิตประจำวันได้
References
ชวนะ ทองนุ่น. (2565). สิทธิหรือหน้าที่เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(1), 341-356.
ณรงค์ พึ่งพานิช และคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดตาก. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่ง
แปซิฟิค, 5(1). 170-183.
นิติพันธ์ อินทโชติ. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไทย ในจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปรมต วรรณบวร. (2561). ความเป็นพลเมืองเพื่อการส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระชินกร สุจิตฺโต. (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารทางการเมืองสำหรับประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ. (2564). การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เลอภพ โสรัตน์ และสมาน งามสนิท. (2554). บทบาทสื่อมวลชนกบการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 5(3), 117-129.
สุกัญญาณัฐ อบสิณ. (2564). การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุณีชญาน์ ฉัตรบุรานนทชัย. (2565). ความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครต่อการเลือกตั้งผู้ว่าาราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(4), 109-120.
สุทน ทองเล็ก. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจังหวัดสระแก้วในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น