ระบบอุปถัมภ์กับปัญหาการบริหารงานภาครัฐ
คำสำคัญ:
ระบบอุปถัมภ์, ปัญหาการบริหารงาน, การบริหารงานภาครัฐบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงปัญหาของระบบอุปถัมภ์ในการบริหารงานภาครัฐ โดยกล่าวถึง ระบบอุปถัมภ์ ปัญหาการบริหารงานภาครัฐ ระบบอุปถัมภ์ที่เกิดขึ้นในระบบการบริหารงานภาครัฐ ข้อดี ข้อเสียของระบบอุปถัมภ์ วิธีการแก้ไขปัญหาของระบบอุปถัมภ์ในการบริหารงานภาครัฐ และการนำระบบคุณธรรมมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐเพื่อลดทอนอำนาจของระบบอุปถัมภ์ การนำหลักธรรมาภิบาลแต่ละตัวมาแก้ไขปัญหาของระบบอุปถัมภ์ หลักธรรมาภิบาลเป็นแนวทางการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพผู้บริหารหน่วยงานควรให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาลและยึดถือหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ เพื่อมุ่งเน้นให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด มีคุณธรรม มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เป็นกรอบแนวทางในบริหารงานภาครัฐ สามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละหน่วยงานได้แตกต่างกันไป อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการทุจริตต่าง ๆ ที่จะเกิดจากระบบอุปถัมภ์ให้เบาบางลงได้บ้าง แม้ว่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด ต้องยอมรับว่าระบบอุปถัมภ์นั้น ส่งผลกับการบริหารภาครัฐเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน นอกเหนือจากหลักธรรมภิบาลแล้วผู้บริหารยังสามารถใช้วิธีการบริหารงานอื่น ๆ มาช่วยเสริมเพื่อลดทอนปัญหาของระบบอุปถัมภ์ในการบริหารงานภาครัฐได้เช่นเดียวกัน
References
กนกพร จีนมหันต์. (2556). แนวทางการบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(50), 87-94.
ขยัน วิพรหมชัย. (2550). ผลกระทบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับผู้บริหารท้องถิ่น (การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฉัตรชัย สุระภา. (2554). ระบบอุปถัมภ์ในการเมืองท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลธัญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีรวัฒน์ วงศ์วรัญญู. (2563). ผลกระทบของระบบอุปถัมภ์ในหน่วยงานราชการต่อการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการในจังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(54), 65-75.
ภาคภูมิ มิสิกา. (2554). ระบบอุปถัมภ์ในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ (การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มนัส โนนุช. (2556). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการบริหารตามหลักธรรมภิบาลของผู้อำนวยการสำนัก สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 3(1), 112-130.
ศิธา เธียรถาวร. (2552). ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่น ศึกษากรณีเทศบาลนครลำปาง (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
สุมิตร เรืองสวัสดิ์. (2552). ระบบอุปถัมภ์กับการเลือกตั้งท้องถิ่นในเขตเทศบาลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อำพัน ถนอมงาม. (2565). ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย. สืบค้น 8 สิงหาคม 2566, จาก http://amphuntha.blogspot.com.
อุราชนก คงกล่ำ. (2561). ระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทย:วาระแห่งชาติที่ต้องเร่งแก้ไข. ใน การประชุม วิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 13 “วิถีนวัตกรรมไทยด้วยการพัฒนางานวิจัย”. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น