การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
การบูรณาการ, การส่งเสริมการท่องเที่ยว, หลักอปริหานิยธรรม 7บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา 3. นำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 393 คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์นำมาสนทนากลุ่มเฉพาะ
ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา พบว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ ทั้ง 3 ด้าน 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าจำปีสิรินธรและเมืองโบราณซับจำปา มีการนําหลักอปริหานิยธรรม 7 มาบูรณาการกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยมีการประชุมปรึกษาหารือในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอยู่เป็นนิตย์อย่างพร้อมเพรียงกัน ไม่มีการตั้งกฎระเบียบตามที่ขัดต่อระเบียบเดิม ให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่ ให้ความเคารพสิทธิมนุษยชน สถานที่ และให้การดูแลเอาใจใส่แก่ผู้มาเยือน เพื่อนำองค์กรไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน
References
กชนิภา อินทสุวรรณ. (2564). รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดสมุทรสาคร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). แผนพัฒนาการ ท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
ทักษิณ ประชามอญ. (2561). รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธงชัย คล้ายแสง. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาจรูญ อภิธมฺมจิตฺโต และคณะ. (2564). รูปแบบการนำหลัก พุทธธรรมมาใช้ในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(4), 1-13.
พระมหาธีรวัฒน์ เสสปุญฺโญ. (2564). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมหมาย อตฺถสิทฺโธ และคณะ. (2559). รูปแบบหลักอปริหานิยธรรมไปใช้ในการบริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารธรรมทรรศน์, 16(1), 101-113.
พระสุระ ญาณธโร. (2560). รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักอปริหานิยธรรมของ เทศบาลตำบลในจังหวัดสุรินทร์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 205-218.
ไพฑูรย์ ใจก้าวหน้า. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานศุลกากรที่มีผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นลุ่มน้ำโขง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
รัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร. (2562). รูปแบบการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสนอ อัศวมันตา. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
รัฐประศาสนศาสตร์. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น