กระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของพรรคการเมืองในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
กระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมือง, ความเชื่อมั่นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย, พรรคการเมืองบทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบบประชาธิปไตยของพรรคการเมือง 2. เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบบประชาธิปไตยของพรรคการเมือง และ 3. เพื่อเพื่อบูรณาการหลักพุทธธรรมในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบบประชาธิปไตยของพรรคการเมือง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจาก กลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย และ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบบประชาธิปไตยของพรรคการเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. กระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบบประชาธิปไตยของพรรคการเมือง ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของพรรคการเมืองในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และหลักอปริหานิยธรรม 7 ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของพรรคการเมือง กรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน และ 3. การประยุกต์หลักธรรมเพื่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของพรรคการเมือง ด้วยการนำอปริหานิยธรรมมาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่มีความสำคัญและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ตั้งแต่ระดับประชาชนทั่วไปจนถึงผู้นำหรือผู้บริหารประเทศ
References
กรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์. (2555). การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. สืบค้น 25 มีนาคม 2565, จาก http://webhost.cpd.go.th/ewt/participate/years_new.html
โกเมศ ขวัญเมือง. (2656). การปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้หลักนิติธรรม.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 555-569.
จรูญ แสงอุทัย. (2559). อุปสรรคและปัญหาของการมีส่วนร่วมในสังคมไทย. สืบค้น 25 มีนาคม 2565, จาก https://mgronline.com/south/detail/9590000114671
ชุมพล เพ็งศิริ. (2563). การส่งเสริมความเข้มแข็งการเมืองภาคประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธนพันธ์ ไลประกอบทรัพย์. (2564). การพัฒนากระบวนการและเครื่องมือ การกำหนดนโยบาย สาธารณะของพรรคการเมืองไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
นิติพันธ์ อินทโชติ. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเป็น สมาชิกพรรคการเมืองไทยในจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร. (2564). การนำหลักพุทธธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัฒนภูมิ ผ่องยุบล และคณะ. (2564). การส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(7), 90-103.
ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2563). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โรงเรียนทรายมูลวิทยา. (2565). ปัญหาการเมืองสำคัญที่เกิดขึ้นภายในประเทศ. สืบค้น 25 มีนาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/x2Qv9
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). ประกาศผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2556). แผนพัฒนากรุงเทพ 12 ปี ระยะที่ 2 (2556-2559). กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล.
สุกัญญาณัฐ อบสิณ. (2564). การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไป ของจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุทน ทองเล็ก. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจังหวัดสระแก้วในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น