องค์ประกอบในการพัฒนาภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • พระครูสังฆรักษ์เอกลักษณ์ อชิโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

องค์ประกอบ, ภาวะผู้นำ, นักการเมืองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการพัฒนาภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ปกครองท้องที่ กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน และกลุ้มผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยการเลือกแบบเจาะจงตามลักษณะการเป็นตัวแทนของกลุ่มที่เหมาะสม จำนวน 25 รูปหรือคน ได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ที่มีค่าดัชนีวัดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ 1.00 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบด้านการฝึกอบรม ได้แก่ เรื่องการบริหารจัดการทางการเมือง เรื่องการวางแผนและการบริหารจัดการโครงการ เรื่องการสร้างความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม เรื่องการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพื่อเสริมสร้างความตระหนักและความเข้าใจในการบริหารจัดการทางการเมือง 2. องค์ประกอบด้านการศึกษา ได้แก่ การศึกษาทางวิชาการ การพัฒนาทักษะการนำ การเรียนรู้แบบตลอดชีวิต การเรียนรู้ทางสังคม การสร้างทีมงานและการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน และ 3. องค์ประกอบด้านการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาทักษะที่จำเป็น การพัฒนาเครือข่ายการทำงานร่วมกัน การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การพัฒนาการสื่อสารและการสร้างความเข้าใจ การพัฒนาเสถียรภาพทางการเมือง

References

จรัส สุวรรณมาลา. (2550). วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 5(3), 83-106.

ดวงใจ ปินตามูล. (2560). การพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำมุ่งให้บริการของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ตามแนวพุทธธรรม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธงชัย พิชัย. (2564). การบูรณาการ การบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดแพร่. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 10(3), 37-49.

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2545). ปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2554). การเมืองท้องถิ่น: การเมืองของใครโดยใครเพื่อใคร. กรุงเทพฯ: จตุพรดีไซด์.

พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ (ปล้องขัน). (2563). ภาวะผู้นำเชิงพุทธเพื่อบูรณาการพัฒนาชุมชนในจังหวัดน่าน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ระดม วงษ์น้อม. (2526). แนวคิดเรื่องชนชั้นนำและการศึกษาโครงสร้างอำนาจชุมชน. รัฐศาสตร์สาร, 9(2), 1-10.

วุฒิสาร ตันไชย. (2548). การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

เวียงรัฐ เนติโพธิ์. (2551). การกระจายอำนาจกับแบบแผนใหม่ของเครือข่ายอิทธิพล. ใน ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (บรรณาธิการ), ก้าว (ไม่) พ้นประชานิยม: กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โปรดักส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite