การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • โปรดปราน เสริญวงศ์สัตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, การตัดสินใจ, การเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชน และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชน ในจังหวัดปทุมธานี ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการส่งเสริมการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ประชาชนให้ความสำคัญกับคุณลักษณะของผู้สมัคร คือ มีคุณสมบัติของความซื่อสัตย์สุจริต ด้านนโยบาย คือ มีนโยบายจากการสำรวจปัญหาและความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ด้านพรรคการเมืองที่สังกัด มีนโยบายเพื่อประชาชน และด้านความสามารถในการสื่อสาร คือ เป็นผู้รู้ มีวาทศิลป์ สื่อสารได้ตรงประเด็น เข้าใจง่าย มีความสร้างสรรค์ ไม่สร้างความขัดแย้ง สร้างความเข้าใจให้ประชาชนได้ 2. ปัจจัยการสื่อสารทางการเมืองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี มี 3 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .01 โดยเรียงลำดับ คือ ด้านผู้รับสาร ด้านเนื้อหาข่าวสาร และด้านช่องทางการสื่อสาร ตามลำดับ ปัจจัยภายในหลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี มี 4 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 โดยเรียงลำดับ คือ ด้านมัตตัญญุตา การรู้ประมาณ ด้านปริสัญญุตา การรู้จักชุมชน ด้านกาลัญญุตา: การรู้จักกาล และด้านอัตถัญญุตา การรู้จักผล ตามลำดับ 3. รูปแบบการนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจไปเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี มีการประยุกต์ คือ การรู้ความต้องการของประชาชน รู้ผลกระทบจากนโยบาย รู้จักหน้าที่ รู้จักประมาณการทำงานและเวลา รู้พื้นฐานของชุมชน และรู้จักสิทธิอันพึงได้จากนโยบายการเมือง

References

คณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2565). ประกาศผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จังหวัดปทุมธานี 2565. สืบค้น 15มิถุนายน 2565, https://www.ect.go.th/pathumthani/more_news.phd?cid=32.

ชนิดา รอดหยู่. (2563). ข่าวในยุคสื่อดิจิทัล. วารสารปารชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 33(2), 17-33.

พระครูใบฎีกาวิชาญ วิสุทโธ. (2565). การสื่อสารทางการเมืองในยุคดิจิทัล. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(1), 109-120.

พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์). (2564). การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก 6 หน้า 17.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2560). แผนยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สุมาลี บุญเรือง. (2564). การพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิญญา ตั้งประสิทธิ์ศิลป์. (2563). ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลข่าวสารบนเฟซบุ๊ก ที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งต่อข้อมูลข่าวสารของผู้ใช้สื่อสังคม ในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite