รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อ การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย ผลสะอาด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักอปริยหานิยธรรม, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การเลือกตั้งท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1 เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน

ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี สิ่งที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ สิทธิและหน้าที่ตามหลักรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งอย่างสุจริต ยุติธรรม ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองและการเลือกตั้ง 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี พบว่า 1. การสื่อสารทางการเมืองทั้ง 2 ด้านมีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี เรียงลำดับตามค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ คือ ด้านการกล่อมเกลาทางการเมือง และด้านการรับรู้ข่าวสาร มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี 2. หลักอปริหานิยธรรม 5 ด้าน มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี 3. รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม คือ การมีความสามัคคี มีความรับผิดชอบร่วมกัน การปฏิบัติตามกฎหมาย การเคารพผู้ที่ควรเคารพ ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพ การให้ความสำคัญกับประชาชน และการสนับสนุนคนดีมีคุณธรรม

References

คณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2565). ประกาศผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จังหวัดปทุมธานี 2565 สืบค้น 15 มิถุนายน 2565, จาก https://www.ect.go.th/pathumthani/

more_news.phd?cid=32

นิติพันธ์ อินทโชติ. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไทย ในจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2562). หลักและแนวทางการวิเคราะห์การเมืองท้องถิ่น. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร (อะซิ่ม). (2564). การนำหลักพุทธธรรมาภิบาลไปประยุกต์ ใช้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2560). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2565). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

สุทน ทองเล็ก. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดสระแก้วในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2562 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

แสวง รัตนมงคลมาศ. (2516). พฤติกรรมในการใช้สิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2510 : ศึกษากรณี เทศบาลเมืองขอนแก่น และมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล. (2554). การเลือกตั้ง : ดัชนีชี้วัดความเป็นประชาธิปไตย, เอกสารวิชาการ, หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite