แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, บุคลากรบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สภาพปัญหาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 2. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ บุคลากรสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 56 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน และวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับประสิทธิภาพในการการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครสวรรค์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12 และ S.D. = .63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านปริมาณงาน ( =4.15 และ S.D. = .58) รองลงมา คือ ด้านคุณภาพงาน ( = 4.14 และ S.D. = .63) ค่าความรวดเร็ว ( =4.11 และ S.D. = .61) และค่าความประหยัดและความคุ้มค่า ( =4.11 และ S.D. = .71) ตามลำดับ 2. ประสิทธิภาพในการการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานควรจัดลำดับความสำคัญของงาน พัฒนาทักษะการทำงานในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานทดแทนกันได้ ส่งเสริมและพัฒนาให้บุคลากรทำงานเป็นทีม มุ่งมั่นไปให้ทิศทางเดียวกัน อบรมให้ความรู้การใช้ระบบเทคโนโลยี เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน ประมวลผล ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น
References
ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปทิตตา จันทวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของลูกจ้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปภัสพร สุทธิประสิทธิ์. (2558). ประสิทธิภาพของบุคลากรสำนักงานประกันสังคม ส่วนกลาง จังหวัดนนทบุรี (งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาการจัดการสาธารณะ) ชลบุรี: วิทยาลัยพาณิชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วีณา ขำคง. (2564). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิรินภา ทาระนัด. (2561). การศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ) เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd Ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น