การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการตามแนวชีวิตวิถีใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจประกันชีวิตในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ประภาวรินทร์ พิทักษ์ชัยภักดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประยุกต์, หลักพุทธธรรม, ธุรกิจประกันชีวิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการตามแนวชีวิตวิถีใหม่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการตามแนวชีวิตวิถีใหม่ และเพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการตามแนวชีวิตวิถีใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจประกันชีวิตในกรุงเทพมหานคร ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากบุคลากรของบริษัทประกันชีวิตในกรุงเทพมหานคร จำนวน 379 ตัวอย่างใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยและ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Multiple Regression Analysis) ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการตามแนวชีวิตวิถีใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.24) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการตามแนวชีวิตวิถีใหม่ ได้แก่ หลักปาปณิกธรรมส่งผลต่อการบริหารจัดการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการบริหารจัดการ 5 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรม ประกอบด้วย ด้านการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อลูกค้า ด้านกระบวนการก่อนการขาย ด้านการให้บริการตามกรมธรรม์ประกันภัย โดยนำหลักปาปณิกธรรมซึ่งส่งเสริมการบริหารจัดการตามแนวชีวิตวิถีใหม่ ประกอบด้วย จักขุมา มีวิสัยทัศน์ วิธูโร จัดการดี และ นิสสยสัมปันโน มีมนุษยสัมพันธ์ รวมทั้งนำส่วนประสมทางการตลาด ทั้ง 7 ด้านเป็นพื้นฐาน ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด บุคคล ลักษณะทางกายภาพ กระบวนการ

References

ไทยโพสต์ (2565). ธุรกิจประกันปรับตัวสู่ยุคชีวิตวิถีใหม่ ลุยปรับองค์กร-พัฒนาโปรดักต์ใหม่รุกกลุ่มสุขภาพ. สืบค้น 28 มีนาคม 2565, จาก https://www.thaipost.net/economy-news/ 87575/.

ธงชัย คล้ายแสง. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประยูร เจนตระกูลโรจน์. (2564). การบริหารสู่ความเป็นเลิศโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของสถานพยาบาลภาครัฐในกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ (ฉบับประมวลธรรม). กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมมิก จำกัด.

ภูริพัฒน์ ถนอมศรีอุทัย. (2556). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศรีพนา ศรีเชื้อ. (2560). การเสริมสร้างคุณลักษณะภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของนายทหารหญิงชั้นสัญญาบัตร กองทัพอากาศ ตามแนวพุทธธรรม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักข่าว อีไฟแนนซ์ไทย. (2565). 10 ยักษ์ใหญ่ประกันชีวิตในไทย. สืบค้น 28 มีนาคม 2565, จาก https://www.efinancethai.com/efinReview/efinReviewMain.aspx?release=y&name=er_202108191451.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite