อนาคตภาพรัฐไทยในอุดมคติในทศวรรษหน้า

ผู้แต่ง

  • พระครูสุธีกิตติบัณฑิต (กฤษฎา กิตฺติโสภโณ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อนาคตภาพ, รัฐไทย, ทศวรรษหน้า

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอนาคตภาพรัฐไทยในอุดมคติในทศวรรษหน้า โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ 1. การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อกำหนดอนาคตภาพรัฐไทยในอุดมคติ โดยสังเคราะห์เนื้อหาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 21 รูปหรือคน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญ 2. การรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 21 รูปหรือคนด้วยเทคนิคเดลฟาย 2 รอบ เพื่อศึกษาอนาคตภาพที่มีความเป็นไปได้ มีภาพอนาคตที่พึงประสงค์ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกัน โดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ หาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยการคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลไปทำนายอนาคตภาพ

ผลการวิจัยพบว่า มี 4 ด้าน 20 อนาคตภาพ ได้แก่ 1. ด้านอนาคตภาพประชากรไทย จำนวน 5 อนาคตภาพ 2. ด้านอนาคตภาพดินแดนไทย จำนวน 5 อนาคตภาพ 3. ด้านอนาคตภาพรัฐบาลไทย จำนวน 5 อนาคตภาพ 4. ด้านอนาคตภาพอำนาจอธิปไตยของไทย จำนวน 5 อนาคตภาพ

References

กันต์ ศณีหล้า และปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2564). ผลกระทบของกระบวนการประชานิยมต่อรัฐไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(1), 7-20.

บุษกร วัฒนบุตร. (2566). กลไกการพัฒนาส่งเสริมสุขภาวะโดยการยกระดับจิตการพึ่งตนเองของแกนนำผู้สูงอายุพุทธธรรม. วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ, 1(4), 16-33.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2564). เหลียวหลัง มองข้างหน้าการกระจายอำนาจของรัฐไทย: แสงริบหรี่ปลายอุโมงค์. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 19(3), 119-136.

พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ (สุขพานิช). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชินกร สุจิตฺโต (ทองดี). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารทางการเมืองสำหรับประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิกิพีเดีย. (2565). การเมืองไทย. สืบค้น 5 กันยายน 2566, https://th.wikipedia.org/wiki

ศิริสุดา แสงทอง. (2564). การจัดสวัสดิการสังคมภาครัฐที่มีต่อแรงงานข้ามชาติในภาคเหนือตอนบน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุมาลี บุญเรือง. (2564). การพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Macmillan, T. (1971). The Delphi Technique, Paper Presented at The Annual Meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. Ca: Monterey.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite