อนาคตภาพรัฐไทยในอุดมคติตามแนวธรรมาธิปไตยในทศวรรษหน้า

ผู้แต่ง

  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อนาคตภาพ, รัฐไทย, ทศวรรษหน้า

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนออนาคตภาพรัฐไทยในอุดมคติตามแนวธรรมาธิปไตยในทศวรรษหน้า โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอนาคตแบบ EDFR แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ 1. การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อกำหนดอนาคตภาพรัฐไทยในอุดมคติ โดยสังเคราะห์เนื้อหาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 21 รูปหรือคน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญ 2. การรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 21 รูปหรือคนด้วยเทคนิคเดลฟาย 2 รอบ เพื่อศึกษาอนาคตภาพที่มีความเป็นไปได้ มีภาพอนาคตที่พึงประสงค์ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกัน โดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ หาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยการคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลไปทำนายอนาคตภาพ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชากรตามแนวธรรมาธิปไตย เป็นประชาชนที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตสูง ซึ่งตรงกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาคือ อัตตสัมมาปณิธิ เป็นประชาชนที่มีความรู้ ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างดี ตรงกับหลักสัปปุริสูปัสสยะ เป็นประชาชนตระหนักรู้ และเคารพการตัดสินใจของผู้อื่น 2. ดินแดนตามแนวธรรมาธิปไตย เป็นดินแดนที่มีการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง สร้างสรรค์ โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียว พื้นที่สาธารณะ การรักษาความสะอาดของเมือง เป็นดินแดนที่ถูกคุ้มครองด้วยระบบและกลไกในการรักษา และคุ้มครองพื้นที่ โดยไม่ไปเบียดเบียนผู้อื่น รักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรต่าง ๆ 3. รัฐบาลตามแนวธรรมาธิปไตย เป็นรัฐบาลที่ปกครองโดยเคารพกฎหมายและรัฐธรรมนูญของประเทศ ผู้บริหารประเทศมีคุณธรรมและจริยธรรมสูง ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน 4. อำนาจอธิปไตยตามแนวธรรมาธิปไตย เน้นการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ฝ่ายบริหารใช้อำนาจทางการบริหารที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับบริบทของประเทศ ฝ่ายตุลาการตัดสินคดีอย่างตรงไปตรงมา และเป็นธรรมกับประชาชน

References

ชุติพนธ์ วงษ์อมรวิทย์. (2563). การเสริมสร้างจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทัศนีย์ ปิยะเจริญเดช. (2563). การกำเนิดรัฐตามแนวคิดของพระพุทธศาสนา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(2), 198-202.

พรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล. (2563). การบูรณาการหลักธรรมาธิปไตยเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์). (2563). การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพวรรณ ปุริมาตร. (2563). พลวัตทางการเมืองกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิกิพีเดีย. (2565). การเมืองไทย. สืบค้น 29 ตุลาคม 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki.

Charles, H. & Rachanie, T. (1998). Prehistoric Thailand: From Early Settlement to Sukhothai. Bangkok: River Books.

Wyatt. David K. (2563). Thailand: A Short History. [ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป]. แปลโดย ละอองศรี กาญจนี. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite