การส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

ผู้แต่ง

  • เชวงศักดิ์ เอี่ยมสำอาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธัชชนันท์ อิศรเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

จิตสำนึก, การเมือง, เยาวชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชน 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชน และ 3. นำเสนอการพัฒนาการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชน โดยประยุกต์ใช้ตามหลักสาราณียธรรม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ เเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 22 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 รูปหรือคน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา และการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.899 เก็บข้อมูลกับจากลุ่มตัวอย่างจำนวน 396 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปเกี่ยวกับจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง พบว่า ด้านสถาบันการศึกษา กลุ่มเพื่อน และสื่อมวลชน มีผลต่อการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 หลักสาราณียธรรม มีผลต่อการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. การพัฒนาการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยประยุกต์ใช้ตามหลักสาราณียธรรม พบว่า ระดับการพัฒนาการส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชนโดยประยุกต์ใช้ตามหลักสาราณียธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

References

คุณากร กรสิงห์ และณัฐชัย นิ่มนวล. (2558). การเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของเยาวชนระดับอุดมศึกษา ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 10(1), 29 - 42.

ณฐมน หมวกฉิม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนชาวไทย, วารสารรัชต์ภาคย์, 15(38), 253 - 265.

พระทรงวุฒิ รัตนะ และคณะ. (2564). การกล่อมเกลาทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2543). กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2539). นิติศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระปลัดบุญมี คุณากโร (โพธิศรีสม). (2563). การศึกษาวิเคราะห์การใช้หลักสาราณียธรรมในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของชุมชนเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานครทรรศน์, 7(4), 132 - 133.

วัชรี ทองประทุม. (2550). ความคิดทางการเมืองในพระพุทธศาสนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริสุดา แสงทอง. (2564). ความตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ : จุดยืนประชาธิปไตยใหม่แห่งอนาคต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 287 - 297.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา. สืบค้น 10 มิถุนายน 2565, จาก http://www.spm18.go.th/2017/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite