การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่ชุมชน ซอยต้นไทร ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • กิติพงษ์ ศรีนันทลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
  • ปัณณธร หอมบุญมา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, การป้องกันอาชญากรรม, ชุมชนซอยต้นไทร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการมีส่วนร่วม 2. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วม และ 3. ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่ชุมชนซอยต้นไทร ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวนทั้งสิ้น 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมประกอบด้วย ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ส่วนใหญ่เป็นการแสดงความคิดเห็น การช่วยสอดส่องดูแล วางแผน ให้คำปรึกษาด้านการป้องกันอาชญากรรม ด้านการมีส่วนร่วมดำเนินการ ส่วนใหญ่เข้าร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ ช่วยดูแล พูดคุย และตักเตือนซึ่งกันและกัน ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ส่วนใหญ่เห็นว่า ผลประโยชน์ที่ได้รับจะตกกับชุมชนมากว่าประโยชน์ส่วนบุคคล ส่วนด้านการประเมินผล ส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่ได้เข้าร่วมประเมินผล 2. ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม พบว่า ปัญหาการขาดความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ไม่แจ้งเจ้าหน้าที่เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น และอุปสรรค คือ ขาดงบประมาณสนับสนุนให้แก่ชุมชน 3. แนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม ประกอบด้วย การจัดให้มีจิตอาสาขึ้นประจำชุมชน ประชาสัมพันธ์ ประกาศเสียงตามสายให้คนในชุมชนทราบถึงกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่จัดขึ้น นอกจากนี้ ควรมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย มีกล้องวงจรปิดครอบคลุมทุกพื้นที่ รวมทั้งการติดไฟส่องสว่างในพื้นที่

References

เคียงฤทัย โคตรฉิน. (2561). แนวทางการป้องกันปัญหาอาชญากรรมและสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี (การศึกษาอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานสาธารณะ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เทอดเกียรติ วงศาโรจน์. (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายปฏิบัติการชุมชนและมวลชนสัมพันธ์เพื่อการป้องกันอาชญากรรม. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 2766 – 2775.

พรชัย ขันตี. (2558). ทฤษฎีอาชญาวิทยา: หลักการงานวิจัยและนโยบายประยุกต์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ยงยุทธ อาจกมล. (2559). การป้องกันอาชญากรรมและการดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะเมืองอยุธยา (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง สำหรับนักบริหาร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยูเธน (2556). ปัญหาอาชญากรรมในสังคมไทย. สืบค้น 10 กันยายน 2566, จาก http://utkenlamsopa2535blogsfot.com/2013/ogblogpost.6599.html

สำนักงานตำรวจภูธรพระนครศรีอยุธยา. (2564) สถิติคดีอาญา 5 กลุ่ม จังหวัดระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานตำรวจภูธรพระนครศรีอยุธยา.

สุทธิรัตน์ ขจรเวคิน. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในชุมชนบ้านแหลม ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบุรพา.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน. (2558) การวิเคราะห์ปัญหาความต้องการ และแนวทางการแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน สืบค้น 10 กันยายน 2566, จาก www.osmsouth-w.moi.go.th/file-data/340751.doc

อิสเรศ เลิศวิไล. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบุรพา.

Cohen, J.M. & Uphoff, N. (1980). Participation's Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity. World Development, 8(3), 213-235.

Cohen, J.M. & Uphoff, N. (1977). Raral development participation: Coneept and measure for Project Design Implementation and Evolution: Rural Development Committee Eventer for interactional & Tidies. New York: Easel University Bess.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01

How to Cite