ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการรับบริการของ คลินิกเสริมความงาม ดีวาคลินิกพัทยา
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนประสมการตลาด, ความพึงพอใจในการรับบริการ, คลินิกเสริมความงามบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจในการรับบริการของคลินิกเสริมความงาม ดีวาคลินิกพัทยา และ 2)ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการรับบริการของคลินิกเสริมความงาม ดีวาคลินิกพัทยา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยประชากรในการวิจัยเป็น ประชาชนที่ใช้บริการคลินิกความงาม ดีวาคลินิกพัทยา โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่ใช้บริการคลินิกเสริมความงาม ดีวาคลินิกพัทยา ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างด้วยการเลือกแบบเจาะจงหรือแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ความพึงพอใจในการรับบริการของคลินิกเสริมความงาม ดีวาคลินิกพัทยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจด้านความพึงพอใจของลูกค้ามากที่สุด 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดความพึงพอใจในการรับบริการของคลินิกเสริมความงาม ดีวาคลินิกพัทยา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.21, S.D.= .616) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ความพึงพอใจด้านกระบวนการมากที่สุด (= 4.54, S.D.= .695) และ ปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านกระบวนการมีผลต่อความพึงพอใจในการรับบริการของคลินิกเสริมความงาม ดีวาคลินิกพัทยา มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการรับบริการของคลินิกเสริมความงาม ดีวาคลินิกพัทยา ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กนกวรรณ ทองรื้น. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามในจังหวัดสระบุรี (การศึกษาอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกการตลาด). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
กรุงเทพธุรกิจ. (2564). ตลาดความงามไทยเติบโต 6 หมื่นล้านบาท อัตราเติบโตเฉลี่ย80% ต่อปี. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1095311
กฤตช์ติพัชร ศรีสุคนธรัตน์. (2564). ปัจจัยในการเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงามและคลินิกศัลยกรรมความงามของกลุ่มลูกค้าเพศชายในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). กรุงทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
กฤติมา ฮึงรักษา. (2562). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าธุรกิจคลินิกเสริมความงาม (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). กรุงทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น.
บุษกร วัฒนบุตร. (2564). พฤติกรรมใหม่การเรียนรู้ของทุนมนุษย์ในยุค COVID-19.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(4) 294-305.
พิมพ์ขวัญ บุญจิตต์พิมล. (2560). ธุรกิจความงามและสุขภาพ บ่อทองคำที่ยังอุดมสมบูรณ์. วารสาร TPA News, 21(241), 22-24.
ศศินา ลมลอย และคณะ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ คลินิกเสริมความงาม ด้านผิวพรรณ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(2), 74-87.
อนาวิล โชคอมรินทร์. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและความพึงพอใจในคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความภักดีต่อคลินิกเสริมความงามของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). กรุงทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Best & Kahn James V. (1993). Research in Education (7th ed). Boston: Allyn and Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น