แนวทางการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาธุรกิจคั่วเมล็ดกาแฟ ของบริษัทเอสเพลสโซ

ผู้แต่ง

  • ประทีป โสดา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • บุษกร วัฒนบุตร มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • วิโรชน์ หมื่นเทพ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, พัฒนาธุรกิจ, ธุรกิจคั่วเมล็ดกาแฟ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาธุรกิจคั่วเมล็ดกาแฟของบริษัทเอสเพลสโซ 2) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาธุรกิจคั่วเมล็ดกาแฟของบริษัทเอสเพลสโซ 3) เพื่อสร้างแนวทางการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาธุรกิจคั่วเมล็ดกาแฟของบริษัทเอสเพลสโซ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 8 คน สำหรับการหาลักษณะร่วมและข้อสรุปร่วม เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไปในปัจจุบันของการพัฒนาทุนมนุษย์ มีจุดแข็ง คือ นโยบายและการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ของบริษัทฯ จุดอ่อนที่ควรได้รับการพัฒนา คือ การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาทุนมนุษย์และการบริหารจัดการกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ โอกาส คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ที่ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและทำให้การพัฒนาทุนมนุษย์ทำได้ง่ายขึ้น อุปสรรค ได้แก่ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) และสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอย 2) ความต้องการในการพัฒนาทุนมนุษย์ พบว่าบริษัทฯ ต้องการให้พัฒนาทุนมนุษย์ ได้แก่ ความเข้าใจในธุรกิจและเป้าหมายขององค์กร ความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงาน การเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ความเชี่ยวชาญในงานการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ความมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ คุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงาน 3) แนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จพบว่าบริษัทควรสร้างทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ กำหนดแผนการพัฒนาทุนมนุษย์ให้สอดคล้องกับนโยบายองค์กรและบริหารจัดการกระบวนการพัฒนาทนมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ

References

ณัฐวรรณ โสมาศรี. (2549). พฤติกรรมการบริโภคกาแฟของผู้บริโภคในเขตเมืองพัทยา (การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารทั่วไป) ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุษกร วัฒนบุตร. (2564). พฤติกรรมใหม่การเรียนรู้ของทุนมนุษย์ในยุค COVID-19.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(4), 294-305.

เสาวนีย์ อาษากิจ. (2550). เปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคกาแฟคั่วบดและกาแฟสำเร็จรูปของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยะ พละปัญญา และณฐิตากานต์ ปินทุกาศ. 2562. การศึกษากระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟอราบิก้าของวิสาหกิจชุมชนบ้านผาหมีตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 36(2), 101-105.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชเนรินทร์ หมดห่วง. (2560). การจัดการธุรกิจและกลยุทธ์ 9Ps ของธุรกิจกาแฟแบรนด์ท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของผู้บริโภคในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-12

How to Cite