ความผิดตามกฎหมายอาญาที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยไม่ต้องการเจตนา
คำสำคัญ:
ความผิด, กฎหมายอาญา, เจตนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาแนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาที่ไม่ต้องการเจตนาในการกระทำในกฎหมายอาญา 2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาเกี่ยวกับเจตนาในความผิดทางอาญาที่ไม่ต้องการเจตนาในพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่มีโทษทางอาญา และ 3. เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางที่เป็นมาตรการที่เหมาะสมเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาที่ไม่ต้องการเจตนาเพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาให้มีความชัดเจนแน่นอนยิ่งขึ้น ศึกษาวิจัยแบบเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาจากตัวบทกฎหมายคำพิพากษาของศาลฎีกา ตำรา บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ และรวบรวมแนวความคิด ข้อเสนอแนะของนักกฎหมายนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักการดังกล่าวที่ปรากฎอยู่ในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายรวมทั้งราชอาณาจักรไทย
ผลการวิจัยพบว่า ความผิดตามกฎหมายอาญาที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยไม่ต้องการเจตนาซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ เกิดจากความจําเป็นในการนําเอามาตรการทางกฎหมายอาญามาใช้กับปัญหาของการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณชนโดยส่วนรวม โดยเริ่มแรกมีพื้นฐานมาจากความรับผิดเพื่อละเมิดในทางแพ่งเกี่ยวกับการระมัดระวังมิให้เกิดผลตามที่กฎหมายบัญญัติขึ้น ต่อมาหลักนี้ได้ขยายไปสู่ความผิดอื่นๆ ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยเหตุผลทางเทคนิคในการรักษาความสงบในสังคม และในระยะแรกเริ่ม มีการตีความหลักความรับผิดนี้อย่างเคร่งครัดและก่อให้เกิดความรับผิดอย่างเด็ดขาดแก่ผู้ฝ่าฝืน ทำให้เกิดการโต้แย้งทางความคิดเกี่ยวกับหลักความรับผิดนี้ และต่อมาหลักความรับผิดนี้ได้ผ่อนคลายลง และยอมรับถึงข้อต่อสู้ต่าง ๆ ในการแก้ตัวให้พ้นความรับผิดนี้ และมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการที่เกิดขึ้นกับบทบัญญัติที่กำหนดความรับผิดนี้ในประการที่ก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้น
References
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: พลสยาม พริ้นติ้ง ประเทศไทย.
โกเมศ ขวัญเมือง. (2550). กฎหมายอาญาชั้นสูง. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.
จิตติ ติงศภัทิย์. (2521). คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาคที่ 1 ตอน 1 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 6). พระนคร: สำนักอบรมกฎหมายเนติบัณฑิตยสภา.
Adenaes, J. (1921). The future of criminal law. 3. Criminal Law review. 21(1), 1-16
General, H. (1966). Principles of Criminal Law (2nd ed). Indiana: The Bobb-Merill Company Inc.
Hall, J. (1960). General Principles of Criminal Law (2nd ed). Indiana: The Bobb-Merill Company Inc.
Howard, C. (1963). Strict responsibility. London: Sweet & Maxwell.
Williamm, G. (1961). Criminal Law the General Fart (2nd ed). London: Steven and son.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น