การมีส่วนร่วมในชุมชน ความพึงพอใจต่อที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตของหัวหน้าครัวเรือนในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าว เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อัญชิสา หัดจุมพล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เฉลิมขวัญ สิงห์วี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมในชุมชน, ความพึงพอใจต่อที่อยู่อาศัย, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับการมีส่วนร่วมในชุมชน ระดับความพึงพอใจต่อที่อยู่อาศัยและระดับคุณภาพชีวิตของหัวหน้าครัวเรือน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในชุมชนกับคุณภาพชีวิตของหัวหน้าครัวเรือน และ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับคุณภาพชีวิตของหัวหน้าครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ หัวหน้าครัวเรือนที่อยู่อาศัยในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าว จำนวน 177 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test, F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมในชุมชนของหัวหน้าครัวเรือนอยู่ในระดับสูง (equation  = 3.99) ความพึงพอใจต่อที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับปานกลาง (equation  = 3.54) และคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง (equation  = 4.22) 2. หัวหน้าครัวเรือนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน คือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ความพอเพียงของรายได้ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนและภาระด้านที่อยู่อาศัย มีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน 3. การมีส่วนร่วมในชุมชนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความพึงพอใจต่อที่อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ก้าวหน้า ศรีสมบัติ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนร่วมใจพัฒนา แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร. Humanities, Social Sciences, and Arts, 12 (4), 99-118.

ประทุม แยมสูงเนิน. (2558). ความพึงพอใจในการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยประเภทอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง ข้าราชการกองทัพเรือ พื้นที่กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง. (2566). รายงานสถานะโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเดือนสิงหาคม 2566. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

สำนักอนามัยและสิ่งแวดล้อม. (2563). คู่มือโครงการบ้านสะอาด อนามัยชีวบูรณ์. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย.

อภิวัฒน์ บุญสาธร. (2550). คุณภาพชีวิตของประชากรที่มีรายได้น้อยในโครงการบ้านเอื้ออาทรกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประชากรศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรทัย หนูสงค์. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ: กรณีศึกษา หมู่ที่ 1 ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

American Public Health Association. (1951). Hygiene of Housing. American journal of public health, 5(1), 511–515.

Borak, A. D. et al. (2020). Community Participation and Quality of Life in Nature-Based Tourism: Exploring the Antecedents and Moderators. Journal of Hospitality & Tourism Research, 46(3), 630-661.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1980). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Development Committee Center for International Studies. New York: Cornell University.

Huebner, R. A. et al. (2003). Community participation and quality of life outcomes after adult traumatic brain injury. The American Journal of Occupational Therapy, 57(2), 177–185.

Streimikiene, D. (2015). Quality of Life and Housing. International Journal of Information and Education Technology, 5(2), 140-145.

WHOQOL Group. (1993). Study protocol for the World Health Organization project to develop a Quality-of-life assessment instrument (WHOQOL). Qual Life Res, 2, 153–159.

Zhan L. (1992). Quality of life: Conceptual and measurement issues. JAN Leading Global Nursing Research, 17(7), 795-800.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01

How to Cite