การสื่อสารทางการเมืองของคณะก้าวหน้า : ศึกษาในช่วงเวลาปี พ.ศ.2563–2564

ผู้แต่ง

  • รักษพล ดิถีสวัสดิ์ วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก
  • รหัส แสงผ่อง วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, การเมือง, คณะก้าวหน้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบททางการเมืองที่มีผลต่อการสื่อสารทางการเมืองของคณะก้าวหน้า ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ.2563–2564 และศึกษาถึงกระบวนการสื่อสารทางการเมืองของคณะก้าวหน้าในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2563–2564การศึกษาวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านทฤษฎีการสื่อสารของเดวิด เค เบอร์โล เป็นหลักในการดำเนินการควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลหลายส่วนให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน

ผลการวิจัย พบว่า บริบททางการเมืองที่ส่งผลต่อบทบาทและการสื่อสารทางการเมืองของคณะก้าวหน้า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 เริ่มต้นด้วยการยุบพรรคอนาคตใหม่ ทำให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี จึงออกมาตั้งคณะก้าวหน้า เพื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองในขณะเดียวกันคณะก้าวหน้า ได้ใช้กระบวนการสื่อสารทางการเมืองในรูปแบบสื่อใหม่ประเภทเฟซบุ๊ก (Fanpage Facebook) ทวิตเตอร์ (Twitter) และอินสตาแกรม (Instagram) โดยมีแกนนำสำคัญ ได้แก่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายปิยะบุตร แสงกนกกุล และนางสาวพรรณิการ์ วานิช ซึ่งเนื้อหาสาระสำคัญของสารที่ใช้ ได้แก่ การปลูกฝังแนวคิดและอุดมการณ์ทางประชาธิปไตย การต่อต้านระบอบเผด็จการทหาร การนำพาคนรุ่นใหม่มาเป็นพลังในการขับเคลื่อนจนแปรเปลี่ยนเป็นขบวนการทางสังคมใหม่ สำหรับผู้รับสารดังกล่าวมีตั้งแต่กลุ่มนิสิต นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และกลุ่มชนชนชั้นกลางในสังคม

References

ณัฐนนทพล หอมเจริญ และศิริรักษ์ สิงหเสม. (2561). บทบาททางการเมืองของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่มีผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทัศนีย์ เจนวิถีสุข และคณะ. (2547). ความสามารถด้านการสื่อสารของพระพิศาลธรรมพาที (พระพยอม กัลยาโณ) กับการระดมพลังการพัฒนาชุมชน (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นันทนา นันทวโรภาส. (2548). การสื่อสารทางการเมือง:ศึกษากรณีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่วไปของพรรคไทยรักไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยบุตร แสงกนกกุล. (2560). ศาลรัฐประหาร ตุลาการ ระบอบเผด็จการ และนิติรัฐประหาร. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.

พรรคอนาคตใหม่. (2561). เกี่ยวกับพรรคอนาคตใหม่. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2561, จาก https://futureforwardparty.org

วรพจน์ พันธุ์พงศ์. (2561). Portrait รวมบทสัมภาษณ์ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ. กรุงเทพฯ: บางลาพู.

สะถิระ เผือกประพันธุ์. (2554). การสื่อสารทางการเมืองของนายอุทัย พิมพ์ใจชน : ศึกษาในห้วงระหว่างปี พ.ศ.2512-2549 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

สุเทพ เดชะชีพ. (2547). การสื่อสารทางการเมืองของนายชวน หลีกภัย (ดุษฎีนิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Berlo, D. K. (1960). The Process of Communication. New York: The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-18

How to Cite