ประสิทธิผลการดำเนินงาน ศูนย์พึ่งได้ (OSCC) โรงพยาบาลปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วรภัทร แสงแก้ว โรงพยาบาลปทุมธานี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลการดำเนินงาน, ศูนย์พึ่งได้, ท้องไม่พร้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการให้บริการ และผลลัพธ์การดำเนินงาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ และนำเสนอผลการวิจัยแบบการพรรณนาเชิงวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า 1. การประเมินบริบท (Context Evaluation) ต้องมีการจัดตั้งศูนย์พึ่งได้ เพื่อช่วยเหลือและลดการกระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี บุคคลในครอบครัว และการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมและเน้นการทำงานเชิงบูรณาการ 2. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) สถานที่ในการจัดตั้งศูนย์ต้องมีความพร้อมและเหมาะสม บุคลากรมีวุฒิเฉพาะด้าน มีการสนับสนุนด้านงบประมาณและองค์ความรู้ และคณะกรรมการศูนย์พึ่งได้ มีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของปัญหา 3. การประเมินกระบวนการให้บริการ (Process Evaluation) เน้นการทำงานในรูปแบบสหวิชาชีพ จัดการประชุม Case Conference และประชุมคณะกรรมการภายในภายนอกสม่ำเสมอ มีกระบวนการค้นหาคัดกรองที่รวดเร็ว คำนึงถึงความปลอดภัย ป้องกันการถูกทำร้ายซ้ำ รักษาความลับ บทบาทของวิชาชีพชัดเจน ส่งต่อข้อมูลตามแบบมาตรฐาน มีการประสานงานอย่างเข้มแข็ง และมีการดำเนินงานเชิงรุก 4. การประเมินผลลัพธ์การดำเนินงาน (Product Evaluation) มีการทำงานอย่างเป็นระบบ สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน มุ่งแก้ปัญหาและอุปสรรคด้วยการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานภายนอกที่หลากหลาย

References

กรมควบคุมโรค. (2565). กรมควบคุมโรค รณรงค์วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ปี 2565. สืบค้น 2 กรกฎาคม 2566, จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181901/

เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์. (2564). แนวคิดเรื่องความรุนแรงในเขตเมือง: ปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญของลาตินอเมริกา. สืบค้น 2 กรกฎาคม 2566, จาก https://

www.the101.world/violence-in-the-city/

ปิยะวัฒน์ เจริญศักดิ์. (2564). ความสุขและความผูกพันในการทำงานของพริตตี้ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พรทิพย์ คนึงบุตร ดรุณี ชุณหะวัต และ พัชรินทร์ นินทจันทร์. (2554). การประเมินผลการดำเนินงาน ศูนย์พึ่งได้ (One Stop Crisis Center: OSCC) โรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 25(1), 75-86.

เยาวเรศ คํามะนาด และ จรรยาภรณ์ รัตนโกศล. (2564). รูปแบบการบริการเด็กและผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงและการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การศึกษาย้อนหลัง 10 ปี ศูนย์พึ่งได้โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารสังคมพิวัฒน์, 12(1), 14-29.

ศูนย์พึ่งได้โรงพยาบาลปทุมธานี. (ม.ป.ป.). ก้าวข้ามความรุนแรง แนวทางการดำเนินงานของศูนย์พึ่งได้ (OSCC) โรงพยาบาลปทุมธานี. ปทุมธานี: โรงพยาบาลปทุมธานี แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเปนธรรมทางเพศ สมาคมเพศวิถีศึกษา.

SDG Move. (2021). SDG Recommends | 5 อินโฟกราฟิกเล่าสถานการณ์ "ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิง” ในโลก 5 รูปแบบ. สืบค้น two กรกฎาคม 2566, จาก https://www.sdgmove.com/2021/12/14/sdg-recommends-5-infographics-5-situations-of-violence-against-women-today/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite