หลักการและแนวคิดทางการแนะแนว

ผู้แต่ง

  • เชวงศักดิ์ เอี่ยมสำอางค์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

หลักการ, แนวคิด, การแนะแนว

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มุ่งเน้นให้ผู้ศึกษาและผู้สนใจในงานแนะแนว มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ และอภิปรายเกี่ยวกับหลักการและแนวคิดที่สำคัญของการจัดบริการแนะแนวในหน่วยงาน เพื่อให้สามารถนำไปสู่การจัดบริการแนะแนวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้วิเคราะห์หลักการและแนวคิดทางการแนะแนว ของประมวลสาระแขนงวิชาการแนะแนว บัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ใน 6 ประเด็น ได้แก่ 1. ปรัชญาและเป้าหมาย 2. ขอบข่ายของการแนะแนว 3. จิตวิทยาที่นำมาใช้ในการแนะแนว 4. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานแนะแนว 5. พฤติกรรมผู้ให้และผู้รับบริการทางการแนะแนว 6. การริเริ่มจัดตั้งบริการแนะแนวในหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา ค้นคว้า เปิดใจกว้างในการรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณในการเลือกรับข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการศึกษาและปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

คณะกรรมการผลิตและบริหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2544). ประมวลสาระชุดวิชาหลักการและแนวคิดทางการแนะแนว หน่วยที่ 1-6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์. (2554). คู่มือฝึกอบรมครูแนะแนว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุชลี อุปภัย. (2543). การแนะแนวเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

รัญจวน คำวชิรพิทักษ์. (2552). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแนะแนวในระดับมัธยมศึกษา. เอกสารการสอนชุดวิชาการแนะแนว ระดับมัธยมศึกษา หน่วยที่ 1-7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วัชรี ทรัพย์มี. (2531). การแนะแนวในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วชิรญา บัวศรี. (2539). การแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตการพิมพ์.

อนนต์ อนันตรังสี, (2540). หลักการแนะแนว. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Kochhar, S.K. (1984). Educational and Vocational Guidance in Secondary. New Delhi: Sterling Publishers Private Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite