ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคความเหนื่อยหน่าย ในงาน และผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ กองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
คำสำคัญ:
ผลการปฏิบัติงาน, ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค, ความเหนื่อยหน่ายในงาน, ข้าราชการตำรวจ, กองบัญชาการปราบปรามยาเสพติดบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค ระดับความเหนื่อยหน่ายในงาน และระดับผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ 2. ผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคกับผลการปฏิบัติงาน 4. ความสัมพันธ์ระหว่างความเหนื่อยหน่ายในงานกับผลการปฏิบัติงาน 5. อิทธิพลของความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค และความเหนื่อยหน่ายที่มีต่อผลการปฏิบัติงาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการตำรวจกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด จำนวนทั้งสิ้น 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หาความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้าราชการตำรวจที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ที่แตกต่างกัน มีผลการปฏิบัติงานแตกต่างกัน และ ข้าราชการตำรวจที่มีสถานภาพ และอายุงานแตกต่างกัน มีผลการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 2. ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคด้านความรับผิดชอบต่อปัญหาไม่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ 3. ความเหนื่อยหน่ายในงานโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ 4. อิทธิพลของความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคและความเหนื่อยหน่ายในงานมีผลต่อผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ
References
กำพลาภรณ์ พุฒิพุทธ. (2560). ข่าวทีนิวส์ หนังสือยื่นลาออกก่อนเกษียณ 10 ปี. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก https://www.tnews.co.th/contemts/320900.
ชมนาด ฉางวัง. (2554). ความไว้วางใจในองค์การพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การกับผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลจังหวัดนครนายก (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยวัฒน์ ยี่วาศรี. (2561). ความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 5(2), 307-320.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2548). การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่: ภาคปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
ทรรศนีย์ เปี่ยมคล้า. (2554). รูปแบบภาวะผู้นำ เชาว์อารมณ์และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของปลัดอำเภอและปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นวลพรรณ ชื่นประโยชน์. (2554). ความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ความผูกพันในงานและความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานสินค้าเกษตรส่งออก (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปริวันท์ ลำพูล. (2558). ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค ความเหนื่อยหน่ายในงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงานวิศวกรบริษัทอสังหารมิทรัพย์แห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิทยา นาควัชระ. (2557). วิธีเลียงลูกให้เก่งดีมีสุข IQ EQ MQ AQ. กรุงเทพฯ: Good book.
ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด. (2558). แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2557-2561). กรุงเทพฯ: กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม.
สำนักงานสภาความมั่งคงแห่งชาติ. (2558). ปัญหายาเสพติด. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก http://www.nsc.go.th/?page_id=2495.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานสภาพปัญหาอาชญากรรมในประเทศไทย. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php.
Maslach, C. (1986). Burnout: The Cost of Caring. New Jersy: Prentice Hall Inc.
Stoltz, P.G. (1997). Adversity Quotient: Turning Obstacles into Opportunities. New York: United States of America.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น