สภาพปัญหาในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสิทธินิติธาดา (ชลัช โชติทตฺโต) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อดุลย์ คนแรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมบัติ อรรถพิมล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สภาพปัญหา, การบริหารจัดการ, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพปัญหาในการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า สภาพทั่วไปด้านศักยภาพในการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1. มีโบราณสถานที่สวยงาม สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั่วโลก 2. เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม มีความหลากหลายทางด้านศาสนา และเป็นเมืองแห่งสันติสุข 3. มีวัดจำนวนมากที่สวยงาม เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทั้งของคนไทยและชาวต่างประเทศ ด้านศักยภาพในการรองรับด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1. พัฒนาพระสงฆ์ให้มีความรู้ด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน 2.จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม 3. พัฒนาศาสนสถานเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 1. บูรณาการร่วมกันของทุกศาสนา 2. ได้รับงบสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ 3. แหล่งท่องเที่ยวหลายๆแห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีการบริหารจัดการที่ดีขึ้นกว่าเดิมด้านศักยภาพในการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1. วัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังขาดงบประมาณในการพัฒนาศาสนสถานเก่าและการก่อสร้างศาสนสถานใหม่ที่คงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่นตน 2. เน้นการท่องเที่ยวไหว้พระเพียงรูปแบบเดียว ขาดการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว 3. กิจกรรมที่วัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจัดขึ้น เน้นประชาชนจากภายนอก ขาดการประชาสัมพันธ์และดึงดูดความสนใจของประชาชนในท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมร่วมกันกับแหล่งท่องเที่ยว ด้านศักยภาพในการรองรับด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1. พื้นที่ของแหล่งท่องเที่ยวคับแคบ ไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้ โดยเฉพาะวัดวาอารามในเกาะเมือง 2. ขาดทักษะทางด้านภาษาและการอธิบายประวัติความเป็นมา 3. ขาดกิจกรรมที่ให้ความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 1. ขาดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง 2. ขาดแผนปฏิบัติการประจำปี 3. นักท่องเที่ยวมีจำนวนที่ลดลงมาก

References

ชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์ และสาติยา มิ่งวงศ์. (2555). พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ : กรณีศึกษาโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยว, 7(2), 39 – 56.

ชุมพล พืชพันธ์ไพศาล. (2561). ความพร้อมของแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมชุมชนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนาไปสู่การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน (พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง).วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(4), 242 – 251.

ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ และคณะ. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 8 – 16.

ธาตรี มหันตรัตน์. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวารอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(3), 31-78.

พระมหากวินท์ ยสินฺทวํโส และคณะ. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 145–156.

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ และคณะ. (2561). แผนยุทธศาสตร์สำหรับโครงการการอนุรักษ์และพัฒนามรดกโลกพระนครศรีอยุธยา, วารสารการบริหารปกครอง. 7(1), 229 – 247.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-10

How to Cite