ผลลัพธ์และความคาดหวังที่เกิดขึ้นจากเครือข่ายทางสังคม ของคณะสงฆ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
คำสำคัญ:
เครือข่ายทางสังคม, การปกครองคณะสงฆ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์และความคาดหวังที่เกิดขึ้นจากเครือข่ายทางสังคมของคณะสงฆ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีของการวิจัย 2 ประเภท คือ การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ออกนโยบาย กลุ่มผู้ปฏิบัติการระดับจังหวัด และกลุ่มเครือข่าย จำนวน 28 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินการสนทนากลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า เครือข่ายทางสังคมที่มีอยู่ในปัจจุบันของคณะสงฆ์ คือ ฆราวาส พุทธศาสนิกชน , หน่วยงานราชการ, องค์กรเอกชน, เครือข่ายทางคณะสงฆ์ด้วยกันเอง เครือข่ายทางสังคม ที่ควรมี คือ บ้าน วัด โรงเรียนและราชการ ชุมชนที่อยู่ใกล้วัด เข้ามาช่วยเหลือวัด เช่นการทำบุญในวันสำคัญเป็นต้น การสื่อสารทางออนไลน์เช่นเฟสบุก ช่วยประชาสัมพันธ์วัดให้รู้จักกว้างขวางขึ้น สื่อสารมวลชนต่างๆ ช่วยสนับสนุนในการเผยแผ่ของวัด หน่วยราชการ เข้ามาช่วยสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่นทางงบประมาณ เป็นต้น แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร มีบางวัดเท่านั้นที่ใช้เครือข่ายทางสังคมอย่างเป็นประโยชน์ ส่วนความคาดหวังจากเครือข่ายทางสังคม พบว่า เครือข่ายควรมีการปรึกษาหารือกัน และทำงานกันเป็นทีม
References
นฤมล นิราทร. (2543). การสร้างเครือข่ายการทำงาน: ข้อควรพิจารณาบางประการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระครูพิพิธพัฒนโสภณ (สุบิน สุเมโธ). (2557). รูปแบบการพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรม ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2547). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.
วิศิษฐ์ วังวิญญู. (2546). ความหมายเครือข่าย. เชียงราย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ.
สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
เสรี พงศ์พิศ. (2548). วัฒนธรรมองค์การของโลกยุคใหม่ เครือข่าย ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.
Margaret, J. W. (1999) eadership and the new science: Discovering order in a chaotic world (2nd Edition). San Francisco: Berrett-Koehler Publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น