พุทธธรรมกับการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารสารสนเทศ

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุธน สุธโน วัดทางหลวง จังหวัดนนทบุรี
  • พระมหาสุวัฒน์ สุวฑฺฒโน วัดทางหลวง จังหวัดนนทบุรี
  • พระกฤษดา เตชธโร วัดทางหลวง จังหวัดนนทบุรี
  • พระเดชา กิตฺติโก วัดทางหลวง จังหวัดนนทบุรี
  • พระทวีรัตน์ ชยวฑฺฒโน วัดทางหลวง จังหวัดนนทบุรี
  • พระมหาวิศาล ปญฺญาวิสาโล วัดทางหลวง จังหวัดนนทบุรี
  • พระอธิการอรรถการ โอภาโส วัดทางหลวง จังหวัดนนทบุรี
  • พระมหาชาญชัย ชยานนฺโท วัดทางหลวง จังหวัดนนทบุรี
  • พระมหาปรวุฒิ ปวรธีโร วัดทางหลวง จังหวัดนนทบุรี
  • พระสมุห์ชัยยน อาจาโร วัดทางหลวง จังหวัดนนทบุรี
  • พระพิศิษฐศรณ์ มหิสฺสโร วัดทางหลวง จังหวัดนนทบุรี
  • พระเพชรเกสร กตธมฺโม วัดทางหลวง จังหวัดนนทบุรี
  • จริยา นุ่นหลักคำ วัดทางหลวง จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

พุทธธรรม, การใช้เทคโนโลยี, การสื่อสารสนเทศ

บทคัดย่อ

ความล้ำสมัยของเทคโนโลยีและการพัฒนาของระบบสารสนเทศรวมถึงการสื่อสาร พัฒนาไปตามลำดับจนมาถึงยุคที่ข้อมูลมีมากจนไม่สามารถ รับรู้และแยกแยะความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลนั้น ๆ หรือจะประมวลนำเนื้อหาข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเหมาะสม การจะใช้งานเทคโนโลยีและสื่อสารสารสนเทศจึงควรมีการนำหลักธรรมที่เหมาะสมมาควบคุมการใช้งาน อีกทั้งเทคโนโลยี AI ที่กำลังเป็นที่นิยมและพัฒนาอยู่นั้นก็เป็นสิ่งที่ ผู้ใช้งานนำมาใช้จนอาจจะละเลยจริยธรรม มาใช้เพื่อลดภาระงานของตน รวมถึงการสื่อสารที่เหมาะและควรต่อการเผยแผ่ถูกต้องตามหลักปฏิบัติด้วยเช่นกัน และยังรวมการบริหารงานให้มีมาตรฐานกับการใช้งานในองค์กรยุคใหม่ด้วย

 โดยสรุป การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือสื่อสารถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพระสงฆ์ไทยในการรักษาหลักพุทธธรรม เผยแพร่คำสอนทางพระพุทธศาสนา และบริหารจัดการองค์กรคระสงฆ์อย่างเชี่ยวชาญ บทความนี้ให้ความกระจ่างว่าเทคโนโลยีไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น การตระหนักรู้ถึงการใช้งานที่จะมาก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังอีกด้วย

References

จันทร์ทิพย์ ชูศักดิ์พาณิชย์. (2560). พุทธวิธีการสื่อมรรคมีองค์ 8 สำหรับเจนเนอเรชั่นวาย (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระกมลรัตน์ อภิปุญฺโญ (ต่ายลีลาศ) และ พระวิเชียร อธิปุญฺโญ (แสนศรี). (2564). การเข้าถึงสื่อออนไลน์ด้วยพุทธธรรม. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 26(2), 234-235.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการนิรันดร กนฺตสีโล (ขอนาคกลาง). (2564). แนวทางการใช้หลักโยนิโสมนสิการเพื่อลดปัญหาการเสพสื่อเทคโนโลยี ในสังคมไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สกุลศรี ศรีสารคาม. (2557). จริยธรรมการใช้สื่อออนไลน์และสื่อสังคมในกระบวนการสื่อข่าวของสื่อไทยในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.

KNOWLEDGE. (2566). เทคโนโลยี Artificial intelligence (AI) คืออะไร. สืบค้น 12 ธันวาคม 2566, จาก https://www.mandalasystem.com/blog/th/297/What-is-artificial-intelligence-AI

Nguyen, S. (2566). นักเรียนใช้ Ai เขียนเรียงความ. สืบค้น 12 ธันวาคม 2566, https://shorturl.asia/QiZEj August 09, 2023.

UNKNOW. (2556). ระบบสารสนเทศ 6 ชนิด. สืบค้น 12 ธันวาคม 2566, จาก https://misneu.blogspot.com/2013/11/6.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite