คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวพระพุทธศาสนาของสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
คุณลักษณะที่พึงประสงค์, พระพุทธศาสนา, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2. เปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. นำเสนอแนวการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวพระพุทธศาสนาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปได้กลุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 398 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ได้แก่ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และนักการเมืองท้องถิ่นโดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวพระพุทธศาสนาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประชาชนที่มีการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงไม่ยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. แนวการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวพระพุทธศาสนาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดระยอง โดยการประยุกต์หลักสัปปุริสธรรม 7 คือ 1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ควรรู้จักเหตุสำนึกในการทำหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม 2. เป็นผู้รู้จักผล มีเป้าหมายและรับผิดชอบในการทำหน้าที่ 3. เป็นบุคคลที่รู้จักตน รู้และหมั่นพัฒนาศักยภาพของตนเองและเท่าทันสังคม 4. การรู้จักประมาณ วางตนเหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมือง 5. รู้จักกาลเวลา วิเคราะห์พิจารณาความเหมาะสมตามกาลเวลา 6. การรู้จักชุมชน รู้จักการปฏิบัติตามกฎและระเบียบของสังคม และ 7. การรู้จักบุคคล จักการอยู่ร่วมกันและการเป็นผู้แทนของประชาชน
References
จิราพร น้ำฟ้า. (2556). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนายกเทศมนตรีในทรรศนะของบุคลากร เทศบาลตำบลเกล็ดแก้ว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชุติมา ศิริเมธาวี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี: ศึกษาในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2560 (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
ถนัด ไชยพันธ์. (2559). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธวัชชัย ผงอ้วน. (2554). ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณลักษณะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระประเสริฐ เตชโก. (2563). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้นำทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ. (2564). การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวิษณุ จิรวฑฺฒนเมธี. (2563). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดชัยภูมิ (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สถาพร ศรีเพียวไทย และคณะ. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 1(2), 11-23.
Voice Online. (2011). Qualifications of members of the House of Representatives to be elected. Retrieved September 11, 2023, from https://www.voicetv.co.th/read/10432
Yamane, T. (1973). statistics: an introductory analysis. (3rd ed.) New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น