ต้นแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน
คำสำคัญ:
ต้นแบบ, ภาวะผู้นำ, นวัตกรรม, ทุนมนุษย์บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นบทความวิชาการมุ่งศึกษาต้นแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน ผ่านการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม การพัฒนาทุนมนุษย์ ประกอบกับการศึกษาผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดีและประสบผลสำเร็จ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเชื่อมโยงกับการพัฒนาทุนมนุษย์ในชุมชนท้องถิ่น พบว่า คุณกิตติศักดิ์ เปรมกระสิน (หนึ่ง) ได้รับความไว้วางใจของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจต้นแบบ เพราะมีคุณสมบัติของการเป็นผู้นำเชิงนวัตกรรม ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและความคิดที่สร้างสรรค์ และความตั้งใจเรียนรู้ อีกทั้งยังมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่สามารถสร้างนวัตกรรมผ่านกระบวนการทำเกษตรกรแบบอินทรีย์ มีผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม และมีกระบวนการถ่ายทอดองค์ความความรู้ทางการทำเกษตรกรต้นแบบที่ตระหนักในคุณค่าของชีวิตมนุษย์บนพื้นฐานการปลูกผักปลอดสารพิษ เพราะเชื่อว่าชีวิตที่ดีนั้นเริ่มต้นจากการบริโภค จนสมาชิกสามารถปฏิบัติตามได้สำเร็จ ส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถปรับตัวต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ภาวะผู้นำที่มีลักษณะนี้จึงมีบทบาทสำคัญในการนำทางและกระตุ้นให้สมาชิกคิดสร้างสรรค์ เป็นตัวอย่างให้กับกลุ่มเกษตรกรต้นแบบและผู้ที่สนใจที่จะประกอบอาชีพเกษตร เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้เกิดคุณค่าควบคู่ไปกับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
References
เกียติศักดิ์ เปรมกะสิน. (2566, 24 ธันวาคม). ประธานกลุ่มเกษตรกร ยังสมาร์ท พุมเรียงตำบล อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี [บทสัมภาษณ์].
อภิชัย พันธเสน. (2565). ความเป็นผู้นำในบริบทของนวัตกรรมทางสังคม. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.
Antonakis, J. & Day, D.V. (Eds.). (2017). The nature of leadership. United Kingdom: Sage Publications.
Antonakis, J. & Day, D.V. (2018). The Nature of Leadership. Thousand Oaks, CA: Sage Publication.
Avolio, B.J. & Gardner, W.L. (2005). Authentic leadership development: It is getting to the root of positive forms of leadership. The Leadership Quarterly, 16(3), 315-338.
Bass, B.M. (1985). Leadership and performance beyond expectation. New York: Free Press.
Bass, B. M., & Avolio, B. J. (Eds.). (1994). Improving organizational effectiveness Through transformational leadership. Housand Oaks, California: Sage Publications.
Bass, B.M., & Bass R. (2008). The Bass handbook of leadership: Theory, research and managerial applications. (4th ed.). New York: Free Press.
Burns, J.M. (1979). Two excerpts from leadership. Educational Leadership. 36(6), 380-383.
Cortes, A.F. & Herrmann, P. (2021). Strategic leadership of innovation: A framework for future research. International Journal of Management Reviews, 23(2), 224-243.
Gratton, L. & Ghoshal, S. (2003). Managing Personal Human Capital: New EthosFor the ‘Volunteer’Employee. European Management Journal, 21(1), 1-10.
Kinicki, A. & Fugate, M. (2016) Organizational behavior: A Practical, Problem-I am using a solving Approach. New York: McGraw-Hill Education.
Munshi, K. (2014). Community networks and the process of development. Journal of Economic Perspectives, 28(4), 49-76.
Steele, L.M. & Watts, L.L. (2022). Managing technical innovation: A systematic Review of 11 leader functions. Technovation, 115 (2022), 102539.
Suangsiri, S. & Sonsupee, S. (2021). Components of Teachers' innovativeleadership Office affiliation Udon Thani Primary Educational ServiceArea, Area Academic. Journal Southern Vocational Education Institute, 18(2), 73-84.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น